หน่วยที่ 4 การออกแบบแบรนด์และความโดนเด่นให้กับธุรกิจดิจิทัล

 

    STARTUP NOW---Brand CI---Brand Design---ออกแบบแบรนด์

 

     Brand CI คืออะไร? ในการสร้างแบรนด์จะมีองค์ประกอบสำคัญหลัก ๆ อยู่ 2 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกคือ Brand Concept หมายถึง แนวคิดของแบรนด์ เรื่องราว รวมไปถึงจุดเด่นต่าง ๆ ของแบรนด์ที่เราจะนำมาใช้ในการสื่อสารแบรนด์ กับส่วนที่ 2 คือ Brand Design หรือ การออกแบบแบรนด์ ซึ่งทั้งสองส่วนเป็นเรื่องสำคัญที่แบรนด์ต้องมีและต้องสื่อสารออกไปในทิศทางเดียวกันด้วย เพื่อให้ลูกค้าสามารถจดจำภาพของแบรนด์เราได้ไม่ลืม

        ด้วยเหตุนี้  การออกแบบแบรนด์ ที่ดี ไม่ใช่แค่ออกแบบสวย ออกแบบมาแล้วถูกใจเรา ใช้โทนสี ตัวหนังสือ หรือ ตกแต่งภาพในแบบที่เราชอบเท่านั้น แต่การออกแบบแบรนด์ที่ดี คือ ต้องสามารถสื่อสารตัวตนของแบรนด์ได้ และต้องสามารถสร้างการจดจำ สร้างภาพของแบรนด์ให้เกิดขึ้นในใจลูกค้าได้อย่างชัดเจน เพื่อให้ลูกค้าสามารถแยกแยะแบรนด์ของเราออกจากแบรนด์คู่แข่งได้

       การที่เราจะประสบความสำเร็จในการออกแบบแบรนด์ให้มีคุณสมบัติตามที่บอกไปข้างต้น สิ่งหนึ่งที่เราจำเป็นต้องมี และต้องให้ความสำคัญมาก ๆ ก็คือ Brand CI ค่ะ ดังนั้นวันนี้ขวัญเลยจะมาเจาะลึกในเรื่องนี้ตั้งแต่พื้นฐานเลยค่ะ ว่า Brand CI คืออะไร? สำคัญกับธุรกิจของเราอย่างไร? และจะมาเล่าให้ฟังด้วยค่ะว่า Brand CI ที่บริษัทหรือแบรนด์ดัง ๆ ระดับโลก ที่เค้าทำ ๆ กันนั้น มีองค์ประกอบอะไรบ้างที่ธุรกิจของเราสามารถนำมาปรับใช้ได้ 

 


Brand CI คืออะไร?

CI ย่อมาจากคำว่า Corporate Identity ภาษาไทยคือ “อัตลักษณ์แบรนด์” ถ้าบอกว่าออกแบบโลโก้ ออกแบบลายกราฟฟิค ออกแบบ Facebook cover ฯลฯ ทุกคนก็อาจจะพอเข้าใจกัน เพียงแต่ที่ทุกคนรู้จัก เคยเห็น หรือ เคยทำมาก่อนนั้น อาจจะเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของการออกแบบ Brand CI เท่านั้นค่ะ

แบรนด์ CI จริง ๆ แล้ว จะเป็นเสมือน Framework หรือ กรอบใหญ่ ๆ ของงานดีไซน์ งานออกแบบต่าง ๆ ทั้งหมดของแบรนด์เรา เป็นสิ่งที่จะช่วยกำหนดทิศทางงานออกแบบต่าง ๆ ของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นโลโก้ เป็นสื่อการตลาดต่าง ๆ เช่น โพสเตอร์สินค้า นามบัตร โบรชัวร์ ว่าควรจะเป็นไปแบบไหน ใช้สีอะไร ฟ้อนต์อะไร จัดวางเลย์เอาท์อย่างไรเป็นต้น

พูดง่ายๆ เวลาที่เราจะสร้างแบรนด์ให้โดดเด่น เราจะต้องสร้างระบบกราฟฟิกของบริษัท หรือของธุรกิจเราที่เป็นเอกลักษณ์ขึ้นมา โดยที่มันจะไม่ใช่แค่โลโกหรือแพ็คเกจจิ้งอย่างเดียว มันจะรวมถึงหลายๆ อย่าง ที่ประกอบกันออกมาเป็นหน้าตาของแบรนด์เราที่จะออกสู่สายตาลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น โลโก้ แพ็คเกจจิ้ง รวมไปถึงการออกแบบโซเชียลมีเดีย อย่างเวลาเราจะโพสต์อะไรลงไปในเฟสบุ๊ค หรือว่าการออกแบบเว็บไซต์ก็เป็นส่วนหนึ่ง แม้แต่เครื่องแบบยูนิฟอร์มของพนักงาน ของที่ระลึกที่เราให้ลูกค้า นามบัตร แฟ้มเอกสาร ฯลฯ เหล่านี้ก็ถือเป็นการออกแบบ Brand CI แบบหนึ่งเช่นกัน

บริษัทหรือแบรนด์ที่ออกแบบตัว CI ได้อย่างเป็นระบบ มีเอกลักษณ์ และมีความสวยงาม จะมีข้อได้เปรียบคู่แข่งในเรื่องของความน่าเชื่อถือ ลูกค้าจดจำแบรนด์ของเราได้ ที่สำคัญคือ ทำให้แบรนด์ของเรามีเอกลักษณ์แตกต่างออกมาจากคู่แข่งค่ะ ลองดูภาพตัวอย่างที่ขวัญนำมาจากเว็บไซต์ที่ชื่อว่า Packaing of the World ด้านล่าง จะเห็นได้ว่าการออกแบบบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดมีจุดเชื่อมโยงเดียวกัน เช่น การจัดวางเลย์เอาท์ การใช้ตัวอักษร ฯลฯ และดูเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น การเลือกใช้โทนสี เป็นต้น แบบนี้แหละค่ะที่เรียกว่า “ดูมีความเป็นแบรนด์”

 

STARTUP NOW---Brand CI---Brand Design---packaging of the world

 

Brand CI ต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง?

องค์ประกอบที่ 1: โลโก้

โลโก้เป็นองค์ประกอบของแบรนด์ CI ที่สำคัญมาก เพราะเป็นอันดับต้น ๆ เลยที่จะช่วยให้คนสามารถจดจำแบรนด์ของเราได้ ในโลโก้จะต้องประกอบไปด้วยสีประจำแบรนด์ ตัวอักษรประจำแบรนด์ อาจจะมีลายกราฟิคประจำแบรนด์ด้วย ที่สำคัญคือทั้งหมดเมื่อรวมกันแล้วจะต้องสามารถสื่อสาร Brand Concept ของแบรนด์ได้อย่างชัดเจนและมีเอกลักษณ์โดดเด่น สร้างความแตกต่างจากคู่แข่งด้วย เมื่อลูกค้าเห็นสินค้าที่มีโลโก้ของเราอยู่ปุ๊ป ควรต้องรู้ได้เลยทันทีว่าเป็นสินค้าของแบรนด์เรา ไม่ใช่ของคู่แข่ง แบบนี้เป็นต้น

 

นอกเหนือจากการออกแบบและการสื่อสารแบรนด์คอนเซ็ปท์แล้ว เราจำเป็นต้องมี Logo Usage หรือข้อกำหนดการใช้โลโก้ด้วยนะคะ ยกตัวอย่างเช่น

  • ลักษณะโลโก้ที่สามารถใช้ได้ ทั้งแบบสี แบบโมโนโทน และแบบที่เป็นขาวดำ
  • ขนาดเล็กสุดของโลโก้เมื่อนำไปประกอบงานออกแบบอื่น ๆ
  • สีพื้นหลัง (Backgroud) ที่สามารถจัดวางโลโก้ได้ และเมื่อจัดวางแล้วจะมีการสลับสีโลโก้หรือไม่ อย่างไร
  • ระยะห่างของโลโก้กับกรอบข้อความ และ ระยะห่างจากองค์ประกอบอื่น ๆ ในภาพ
  • ฯลฯ

 

STARTUP NOW---Brand CI---Brand Design---logo usage---logo design

 

STARTUP NOW---Brand CI---Brand Design---logo usage---logo design

 

สาเหตุที่เราต้องมีกำหนดการใช้งาน ก็เพื่อให้โลโก้ของเราเมื่อเวลาปรากฏสู่สายตาลูกค้า จะต้องมีภาพลักษณ์ที่ดีและต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์และธุรกิจของเราได้นั่นเองค่ะ

 

องค์ประกอบที่ 2: Font ประจำแบรนด์

 

STARTUP NOW---Brand CI---Brand Design---Font

STARTUP NOW---Brand CI---Brand Design---Font

 

Font หรือ ตัวหนังสือประจำแบรนด์มีความสำคัญมากเช่นกันนะคะ เพราะนอกจากจะช่วยสร้างการจดจำแล้วยังสามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ได้อีกด้วยค่ะ การเลือก Font ประจำแบรนด์ก็มีหลักเกณฑ์สำคัญ ๆ ที่ต้องคำนึงถึงดังนี้

  • Font ที่เลือก ต้องมีลักษณะที่เหมาะกับประเภทธุรกิจ
  • Font ที่เลือก ต้องเหมาะกับคอนเซปท์และบุคลิกของแบรนด์ เช่น เข้มแข็ง น่าเชื่อถือ น่ารัก อ่อนหวาน สนุกสนาน เป็นต้น
  • แนะนำให้เลือกทั้ง Font ภาษาไทย และ Font ภาษาอังกฤษไปเลยค่ะ โดย Font ที่เราเลือกทั้ง 2 ภาษา จำเป็นต้องมีความสอดคล้องกันด้วย เพราะเมื่อเรานำมาทำอาร์ตเวิร์ค หรือในงานออกแบบบางชิ้นที่ต้องมีทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เช่น โบรชัวร์ เว็บไซต์ เป็นต้น เมื่อออกแบบมาแล้วต้องดูสอดคล้องกลมกลืนกันค่ะ
  • Font ที่เลือก ควรมีภาษาละ 2 ฟ้อนท์ สำหรับไว้ทำ Headline / Title คือ พาดหัวหรือหัวข้อ และสำหรับเป็นข้อความธรรมดา โดย Headline เราอาจเลือกฟ้อนต์ที่ดูน่าสนใจ ดึงดูดสายตา เช่น ตัวหนา ไม่มีหัว ดูทันสมัย แต่ในขณะที่ฟ้อนต์สำหรับข้อความอาจจะเลือกเป็นฟ้อนต์มีหัวที่อ่านง่าย ดูสบายตา เป็นต้น

องค์ประกอบที่ 3 สีประจำแบรนด์

 STARTUP NOW---Brand CI---Brand Design---color

 

สีประจำแบรนด์ มีความสำคัญอย่างยิ่ง ส่งผลโดยตรงต่อแบรนด์ค่ะ ช่วยให้คนจดจำแบรนด์ของเราได้ดี นอกจากนี้สียังส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึก ต่อความเชื่อถือของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ รวมถึงสีบางสียังทำให้คนเราสามารถเชื่อมโยงกับบางสิ่งหรือบางเรื่องได้ ยกตัวอย่างเช่น

 

  • สีแดง ให้ความรู้สึกและแสดงออกถึง ความร้อนแรง พลังงาน ความก้าวหน้า ความทะเยอะทะยาน บางครั้งสีแดงหมายถึงอันตราย สารเคมี มีพิษร้ายแรงก็ได้เช่นกันค่ะ
  • สีน้ำเงิน แสดงถึง ความมั่นคง ความเข้มแข็ง ความน่าเชื่อถือ ความทันสมัย เทคโนโลยี ถ้าเป็นสีน้ำเงินเข้มก็จะให้ความรู้สึกเงิน สงบ แต่ถ้าน้ำเงินเข้มจนเกือบดำก็จะแสดงถึงความลึกลับ
  • สีเขียว สื่อถึงความสบายปลอดโปร่ง ธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สดใส
  • สีส้ม สื่อถึง พลังงานด้านบวก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การเริ่มต้นใหม่ สติปัญญา เป็นต้น

 

ในการเลือกสีประจำแบรนด์ แนะนำให้เลือกเป็นเฉดสีไป เพราะถ้าเป็นสีแบบแม่สีทั่วไป ก็มีแนวโน้มว่าจะไปซ้ำไปเหมือนกับแบรนด์หรือธุรกิจอื่น ๆ ได้ง่าย แต่ถ้าเป็นเฉดสี โอกาสจะเลือกสีซ้ำกันกับแบรนด์อื่นก็จะน้อยลง นอกจากนี้ยังควรเลือกสีที่จะมาจับคู่กันไว้ด้วยเพื่อให้การนำไปใช้งานมีความสะดวก สวยงาม และดูมีมิติมากกว่าการใช้สีเดียว

 

องค์ประกอบสำคัญที่ 4: ลายกราฟิกประจำแบรนด์

ลายกราฟิกเป็นเหมือนสัญลักษณ์บางอย่างที่ช่วยสร้างการจดจำให้กับลูกค้าของเราได้ สาเหตุที่ต้องมีลายกราฟิกประจำแบรนด์ส่วนหนึ่งก็เพราะในบางครั้งคู่สีหรือฟ้อนต์ที่เราเลือกมานั้นอาจจะยังไม่สามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้มากนัก ยกตัวอย่าง เช่น เราเป็นธุรกิจรับทำความสะอาดที่คนส่วนใหญ่กว่า 90% เลือกใช้สีฟ้า สีเขียว ทีนี้พอทุกแบรนด์ใช้สีเดียวกัน ฟ้อนต์ก็ดูคล้ายๆ กัน เราก็จำเป็นต้องนำเสนออย่างอื่นให้ลูกค้าได้จดจำ ก็ได้แก่สัญลักษณ์บางอย่าง ลายกราฟิกต่าง ๆ ที่เพิ่มเข้ามา ช่วยให้จดจำเพิ่มมากขึ้น

 

STARTUP NOW---Brand CI---Brand Design---graphic

 

ยกตัวอย่างสัญลักษณ์ของสตาร์ทอัพ นาว จะเป็นสัญลักษณ์ที่เหมือนตัว Play โดยตั้งชื่อมันว่าตัว Play Forward สื่อถึงการเดินไปข้างหน้า ตรงตามความตั้งใจและคอนเซปต์ของสตาร์ทอัพนาว ที่อยากจะทำแบรนด์หรือธุรกิจที่ช่วยให้ SMEs ได้เดินต่อไปข้างหน้าได้

หลักการออกแบบกราฟิกประจำแบรนด์แบบง่าย ๆ ส่วนใหญ่ก็จะใช้วิธีเลือกหยิบลายเส้นบางส่วนออกมาจากโลโก้ แล้วลดทอนรายละเอียดบางอย่างลง เหลือแค่สัดส่วนที่สำคัญ ที่มีความหมาย ที่สื่อถึงแบรนด์และช่วยสร้างการจดจำ เหมือนอย่างตัวสัญลักษณ์ Play Forward ที่มีลายเส้นอยู่ในตัวโลโก้ของสตาร์ทอัพนาว เป็นต้น

 

องค์ประกอบที่ 5 ของ Brand CI: ไอคอนต่างๆ

สำหรับองค์ประกอบนี้ ถ้าเราเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องการอาศัยความน่าเชื่อมาก ๆ เราอาจจะต้องสร้างไอคอนเฉพาะของบริษัทเราขึ้นมา เพื่อใส่ลงในเว็บไซต์ เอกสารทางการตลาด ในแคตตาล็อก ในพรีเซนเทชั่นแนะนำบริษัท หรือแม้แต่บนฉลากสินค้าหรือแท็กห้อยสินค้า เป็นต้น

 

STARTUP NOW---Brand CI---Brand Design---icon

 

แต่ถ้าสมมติว่าคุณเป็นธุรกิจขนาดเล็ก มองว่าอาจจะไม่ต้องวาดไอคอนประจำแบรนด์ขึ้นมาใหม่ แต่แนะนำให้ใช้วิธีเลือกดาวน์โหลดไอคอนสำเร็จรูปจากเว็บไซต์ Stock Photo อย่างเช่น Shutter Stock , Freepik 

 

STARTUP NOW---Brand CI---Brand Design---icon---download---free

 

องค์ประกอบที่ 6 Moon&Tone 

Mood & Tone หมายถึง อารมณ์ ความรู้สึก ของลูกค้าเมื่อได้สัมผัสกับแบรนด์ ซึ่งมาจากการพยายามสื่อสารตัวตน คอนเซปท์ จุดเด่น บุคลิกภาพของแบรนด์ที่เราต้องการสื่อให้ไปถึงลูกค้า โดยอาจนำเสนอผ่านทางการออกแบบต่าง ๆ ที่แบรนด์เลือกใช้ อาทิ ภาพถ่ายสินค้า รูปภาพประกอบคอนเทนต์ ภาพกราฟิก โทนสีและลวดลายที่อยู่บนแพคเกจจิ้ง เหล่านี้เป็นต้น

 

ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าสินค้าของเราคือ สกินแคร์ หรือ เครื่องสำอางออแกนิค จุดเด่นของแบรนด์ที่เราอยากให้ลูกค้าจดจำแบรนด์เราก็คือ เป็นสินค้าออแกนนิค ผลิตจากสารสกัดธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี สิ่งที่เราจะต้องสื่อสารออกไปให้ถึงลูกค้าก็คือ ความเป็นธรรมชาติ ความอบอุ่นอ่อนโยน ความปลอดภัย ผิวสุขภาพดี เป็นต้น ดังนั้น Mood & Tone ของงานดีไซน์ ภาพที่เราเลือกใช้ก็ต้องเป็นไปในทิศทางดังกล่าวด้วย เช่น เราอาจจะเลือกใช้โทนสีขาว-เขียว เพื่อสื่อถึงความเป็นธรรมชาติ เลือกใช้โทนสีอ่อนเพื่อสื่อถึงความอ่อนโยน เป็นต้น

 

อย่างภาพตัวอย่างด้านล่างนี้ เป็น Mood & Tone ของทางสตาร์ทอัพนาว ที่เน้นสื่อสารความรู้สึกของเจ้าของธุรกิจ เจ้าของแบรนด์ ในแง่มุมต่าง ๆ ที่เป็นไปในเชิงบวก เช่น ความมั่นใจ ความเชื่อมั่น ความคิดสร้างสรรค์ ทีมเวิร์ค เป็นต้น และความรู้สึกที่เราต้องการสื่อให้ถึงใจลูกค้าก็คือ ให้มั่นใจได้ว่าเราเป็นที่ปรึกษาที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ ที่พร้อมแบ่งปันให้คุณก้าวไปสู่ความสำเร็จ

 

STARTUP NOW---Brand CI---Brand Design---mood and tone

 

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องพยายามคุม Mood & Tone ของงานออกแบบของแบรนด์ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทุกช่องทางการตลาด เช่น ลูกค้าที่เข้าหน้าเพจของเรามา ต้องรู้สึกและสัมผัสถึงอารมณ์ความรู้สึกได้แบบเดียวกันกับลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ รวมถึงสื่อการตลาดต่าง ๆ อย่างโบรชัวร์ แพคเกจจิ้งสินค้า นามบัตรเซลล์ ก็ต้องเป็นไปในทิศทางที่กำหนดด้วย

 

องค์ประกอบที่ 7: Brand Communication Design

คือการที่เรานำ Brand CI ทั้ง 6 องค์ประกอบข้างต้น มาออกแบบเป็น Mock-up หรือแบบจำลองตัวอย่างงานจริงที่จะนำมาใช้กับแบรนด์หรือธุรกิจของเรา ก็คือไม่ว่าจะเป็นการนำ Font นำคู่สี นำลายกราฟฟิกประจำแบรนด์ เอามาใช้ออกแบบเลยค่ะเพื่อให้เห็นภาพการนำไปใช้งานจริง ๆ ว่าควรจะต้องกำหนดขนาดเท่าไหร่ มีการจัดวางเลย์เอาท์ (Layout) ของแต่ละชิ้นงานอย่างไร เพื่อให้มีความสวยงามและสื่อสารแบรนด์ได้ดีที่สุด

 

STARTUP NOW---Brand CI---Brand Communication Design---letter head

STARTUP NOW---Brand CI---Brand Communication Design---Brochure

STARTUP NOW---Brand CI---Brand Communication Design---Social Media Template

STARTUP NOW---Brand CI---Brand Communication Design---Presentation Template

STARTUP NOW---Brand CI---Brand Communication Design---uniform

 

ยกตัวอย่าง Brand Communication Design ของสตาร์ทอัพนาว ตามตัวอย่างด้านบน จะเห็นว่ามีการเอาสีประจำแบรนด์ หรือเอากราฟฟิกมาออกแบบเป็นหัวจดหมาย ยูนิฟอร์ม โบรชัวร์ ปกเอกสาร เป็นต้น ซึ่ง mock-up งานดีไซน์เหล่านี้ เราสามารถนำไปประยุกค์ใช้กับงานออกแบบคอนเทนต์ในโซเชียลมีเดียก็ได้นะคะ

 

สำหรับ Mock-up งานดีไซน์ที่แนะนำว่าให้ทำไปพร้อม ๆ กับการออกแบบ Brand CI เลยเพราะได้นำไปใช้งานจริงอย่างแน่นอน ได้แก่

  • Presentation Template
  • Social Media Template สำหรับการทำคอนเทนต์ ทำเพจ ผ่านสื่อโซเชียลต่าง ๆ เช่น ภาพหน้าปก Facebook Cover, Template สำหรับโพสต์เฟสบุ๊คหรือไอจี ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมจัตุรัส แบบแกลอรี่ แบบแบนเนอร์ ฯลฯ
  • ยูนิฟอร์มพนักงาน
  • นามบัตร
  • โบรชัวร์
  • แคตตาล็อกสินค้า
  • ป้ายโฆษณากลางแจ้ง
  • บูธแสดงสินค้า
  • ฯลฯ

หมายเหตุ:

Brand Communication Design จะเป็นเพียงแบบจำลองงานออกแบบที่นำเอาองค์ประกอบ Brand CI ที่เราทำไว้ในข้อ 1-6 มาทำให้เราเห็นภาพว่าพอเมื่อนำองค์ประกอบต่าง ๆ มารวมกันในงานดีไซน์ประเภทต่าง ๆ แล้ว จะมีหน้าตาคร่าว ๆ อย่างไร ภาพรวมของแบรนด์จะมีหน้าตาแบบไหน ยังไม่ใช่การออกแบบโบรชัวร์หรือสื่อการตลาดจริง ๆ

วิธีการใช้งาน Brand Communication Design คือ เวลาที่เราจะต้องผลิตงานออกแบบนั้นจริง ๆ เช่น กำลังจะสั่งผลิตโบรชัวร์สินค้า ผลิตนามบัตรแจกเซลล์ เราก็จะมีตัวอย่างงานจริงอยู่แล้ว ให้เรานำ Mock-up งานไปบรีฟกราฟิกต่อได้เลยว่าต้องการงานแบบนี้ ให้กราฟิคนำเอาองค์ประกอบข้อ 1-6 มาจัดเลย์เอาท์ตามต้นแบบได้เลย สิ่งที่จะต้องเพิ่มเติมลงไปก็มีเพียงแค่ Text หรือข้อความนั่นเอง จะทำให้การทำงานสะดวกและเสร็จรวดเร็วขึ้น


Brand Design Book สิ่งที่ต้องมีเมื่อทำ Brand CI

 STARTUP NOW---Brand CI---Brand Design---Manual

 

ในการออกแบบ Brand CI เราจำเป็นต้องจัดทำขึ้นมาเป็นเอกสารที่เรียกว่า Brand Design Book หรืออย่างของ Startup Now จะใช้ชื่อว่า Brand Manual คือ เป็นเอกสารคู่มือการออกแบบแบรนด์ที่รวบรวมแนวทาง ทิศทาง รูปแบบ และข้อกำหนดต่าง ๆ ในการทำงานออกแบบของแบรนด์ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบสำหรับการใช้งานออฟไลน์ หรือ การใช้งานออนไลน์ก็ตาม รวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ สามารถหยิบมาใช้เป็น reference งานออกแบบของแบรนด์ได้ตลอดไปจนกว่าจะมีการรีแบรนด์ (Rebranding) 

 

การมีเอกสารคู่มือการออกแบบแบรนด์ หรือ Brand Design Book / Brand Manual จะช่วยให้เราสามารถต่อยอดงานออกแบบต่าง ๆ ได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น เพราะมีกรอบและทิศทางการออกแบบที่กำหนดไว้อยู่แล้ว เราจึงสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องเสียเวลามาคิดเรื่องการสื่อสารตัวตนแบรนด์ทุกครั้งก่อนออกแบบ

 

นอกจากนี้ หากองค์กรของเราไม่ได้มีกราฟิกที่เป็นพนักงานประจำ แต่เราใช้วิธีจ้างบริษัทออกแบบหรือจ้างฟรีแลนซ์มาทำงานออกแบบสื่อการตลาดต่าง ๆ อาทิ ทำคอนเทนต์ ทำโพสต์ ทำเว็บไซต์ ทำโปสเตอร์ โบรชัวร์ เป็นต้น ทำเป็นจ๊อบเป็นชิ้นงานไป ตลอดการทำธุรกิจเราอาจจะไม่ได้จ้างแค่เจ้าใดเจ้าเดียว แต่อาจจะจ้างหลายเจ้า ดังนั้นการที่เรามีเอกสารคู่มือมาเป็นกรอบกว้าง ๆ ของการออกแบบ ก็จะช่วยให้เราบรีฟงาน outsource เหล่านั้นได้ง่ายขึ้น รวมถึงสามารถคุมภาพแบรนด์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ด้วยแม้ว่าจะมาจากการออกแบบของกราฟิกดีไซเนอร์หลาย ๆ คนก็ตาม


เมื่อพูดถึงเรื่องของการเพิ่มยอดขายให้กับสินค้าหรือบริการ ทีมขายและทีมการตลาดคงจะพยายามหากลยุทธ์และวิธีการเพื่อโปรโมท รวมไปถึงการทำโปรโมชั่นดีๆเพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคกลายเป็นลูกค้าจนหันมาซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ และแน่นอนครับว่าในเรื่องของความคุ้มค่านั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้บริโภคในยุคนี้ ซึ่งแต่ละคนนั้นจะมีเกณฑ์กำหนดเรื่องความคุ้มค่าที่ไม่เหมือนกัน เรามาดู 4 เหตุผลหลักๆที่สร้างให้เกิดความคุ้มค่าจนผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือบริการไปพร้อมๆ กัน

1. ผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับราคา

ผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับการจับจ่ายซื้อสินค้าที่มีราคาถูกเป็นหลัก โดยไม่ได้คำนึงว่าคุณภาพจะดีหรือไม่ดีเพราะคุณภาพไม่ใช่เหตุผลในการนำมาตัดสิน ความคุ้มค่าของผู้บริโภคกลุ่มนี้คือราคาที่เหมาะสม ราคานี้รู้สึกคุ้ม ราคาร้านนี้ถูกกว่าร้านอื่นๆในระดับที่พอรับได้ โดยจะเลือกเปรียบเทียบหาราคาที่ถูกที่สุดไม่ว่าจะเป็นทั้งการเดินสำรวจร้านค้าหรือค้นหาผ่านช่องทางออนไลน์ และประโยชน์จะตกไปอยู่กับผู้บริโภคในทันทีเพราะได้ของในราคาถูก แต่ผลเสียอาจจะเกิดขึ้นกับแบรนด์หรือธุรกิจครับ เพราะแบรนด์ต่างๆจะพยายามแข่งขันกันด้านราคาซึ่งคงไม่เหมาะกับแบรนด์หรือธุรกิจเล็กๆ ที่ไม่มีกำลังและทรัพยากรเพียงพอสำหรับต่อสู้ด้านราคา

2. ผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพ

คุณภาพที่เหมาะสมจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค โดยมีความคิดว่าถ้าคุณภาพสินค้าดีแล้วสินค้ามีราคาสูงก็ถือเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ดังนั้นผู้บริโภคกลุ่มนี้จะรับรู้ว่าความคุ้มค่านั้นต้องแลกมาด้วยคุณภาพที่ดีที่พร้อมกับราคาที่สูงเป็นปกติ เพราะสิ่งที่ได้มานอกจากคุณภาพแล้วยังมีเรื่องของการบริการหลังการขาย เวลามีปัญหาอะไรตามมาก็สามารถติดต่อได้อย่างสะดวกมีคนรับเรื่องแก้ไขให้ตลอดเวลานั่นเอง

3. ผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ที่ดี

การที่ผู้บริโภคซื้อสินค้าหรือบริการมาเพื่อเสริมบางสิ่งบางอย่างให้ตัวเองมีชีวิตชีวามากขึ้น ที่ไม่ได้ซื้อมาเพื่อใช้อุปโภคหรือบริโภคแบบทั่วๆไป ซึ่งโดยส่วนใหญ่นั้นผู้บริโภคกลุ่มนี้จะผ่านการซื้อสินค้าหรือบริการมาหมดแทบทุกอย่างแล้ว จึงอยากหาประสบการณ์ใหม่ๆให้กับตนเองโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องของราคา แต่ถ้าอะไรก็ตามที่สร้างประสบการณ์ดีๆใหม่ๆแม้ว่าจะแพงขนาดไหนก็ยอมจ่ายอยู่ดี ความคุ้มค่าจึงเป็นสิ่งที่ต้องได้มาของประสบการณ์ที่แท้จริงเท่านั้น

4. บริโภคที่ให้ความสำคัญกับความเป็นตัวตน

แม้ว่าคุณภาพจะดีราคาจะโดนใจแค่ไหนก็ตามแต่ถ้าไม่เข้ากับลักษณะการใช้ใช้ชีวิต (Lifestyle) หรือความเป็นตัวตนก็คงยากที่ผู้บริโภคกลุ่มนี้จะหันมาซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ เรียกได้ว่าถ้าสินค้าราคาแพงสุดกู่หรือถูกสุดๆแต่ถ้ามันใช่ในความเป็นตัวตนแล้วละก็ ยังไงผู้บริโภคกลุ่มนี้ก็ยอมซื้อโดยไม่ลังเลใดๆ ซึ่งเรามักจะเห็นผู้บริโภคกลุ่มนี้ค่อนข้างเยอะขึ้นในปัจจุบัน

ในตัวผู้บริโภคแต่ละคนอาจจะอยู่ใน 2 กลุ่ม หรืออาจเป็นทั้ง 4 กลุ่มในเวลาพร้อมๆกันก็ได้ ซึ่งมันทำให้เห็นว่าความคุ้มค่าของสินค้าและบริการบางประเภทนั้น อาจจะไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง เช่น สินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างแปรงสีฟัน ยาสีฟัน แต่หากเป็นเรื่องของประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใครและ Lifestyle ที่เข้ากับตัวเองก็อาจยอมเปย์แบบไม่อั้นก็ได้ ส่วนตัวผมเองก็เอาตัวเองไปอยู่ได้ทั้ง 4 กลุ่มนี่แหละครับ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความเหมาะสมต่างๆ