หน่วยที่ 2 หลักการสร้างแบรนด์ให้เป็นดิจิทัลและกลุ่มเป้าหมาย

การใช้พื้นที่ออนไลน์ มีข้อดีและจุดเด่นที่น่าสนใจกว่าไม่ว่าจะเป็นเรื่องความง่ายและความรวดเร็ว อีกทั้งยังมีต้นทุนที่ต่ำ สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ทั่วประเทศ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีข้อเสียนะครับ เพราะ ร้านค้าแบบ Ecommerce มี มีคู่แข่งที่เยอะมาก ๆ เพราะด้วยความง่ายในการเริ่มต้นสร้างนี่แหล่ะครับ อาจทำให้เจอปัญหาขายสินค้าที่ตัดราคา ดังนั้นนะครับ การจะ สร้าง Brand บน Online Marketing อย่างไรให้ปัง จะต้องคำนึงถึงเรื่องของคุณค่ามากขึ้นอย่างไรล่ะครับ แล้วจะสร้างคุณค่าของแบรนด์ (Brand Value) ได้จากอะไรบ้าง ลองมาดู 5 หัวข้อต่อไปนี้ในการสร้างคุณค่าของแบรนด์ (Brand Value) 
1. การสร้างแบรนด์สำหรับ Ecommerce เริ่มต้นอย่างไร

ก่อนจะเริ่มต้นกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์ ควรมีการสร้างความเข้าใจให้ตรงกันภายในทีม เพื่อให้ทีมมองเห็นภาพรวมที่ชัดเจน 

  • Objective หลักของการเปิด Online Shop ของธุรกิจคืออะไร ? 
  • Produce สามารถช่วยแก้ปัญหาให้กับ Customer อย่างไรได้บ้าง ? 
  • ลูกค้าปัจจุบันของคุณคิดอย่างไรกับธุรกิจของคุณ ?

หากแบรนด์มีช่องทางการสื่อสารบนโลกออนไลน์อยู่แล้ว เช่น Facebook, LINE, Instagram, Youtube สามารถลองสอบถามผู้ที่ติดตามแบรนด์ตรง ๆ เลยว่า มีความเห็นอย่างไรกับแบรนด์และสินค้าของแบรนด์บ้าง จุดเด่นหรือข้อด้อยอะไรบ้าง และควรปรับปรุงในทิศทางใดครับ เพราะความเห็นของกลุ่มลูกค้าถือว่าเป็นเสียงสำคัญในการสร้างคุณค่าของแบรนด์ 

  • สร้างรูปโปรไฟล์หรือโลโก้ ที่เป็นตัวแทนของแบรนด์
  • ใช้รูปโปรไฟล์และโลโก้เดียวกันกับทุกบน Platform เพื่อให้เกิดการจดจำแบรนด์ 
  • ใช้ Mood & Tone เดียวกันทุก ๆ Platform โดยการกำหนดโทนสี สไตล์ รูปแบบ ภาษาที่ใช้ ให้ไปในทิศทางเดียวกัน  

2. การหาจุดเด่นให้ Brand 

การสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้แบรนด์เป็นสิ่งที่ห้ามพลาดเลย เพราะเป็นสิ่งที่จะมีความแตกต่างให้กลุ่มลูกค้าแยกแบรนด์สินค้าของเราออกจากแบรนด์ของคู่แข่ง การที่แบรนด์หรือสินค้านั้นโดดเด่นไม่เหมือนใคร จะช่วยให้ลูกค้าเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้น 
โดยเอกลักษณ์ที่สร้างสามารถเป็นการบอกเล่าเรื่องราว ที่มาที่ไปของแบรนด์ หรือปรัชญาในการทำธุรกิจ แรงบันดาลใจในการดำเนินธุรกิจและขั้นตอนการผลิตสินค้าก็ได้
 
ยกตัวอย่างแบรนด์ที่มีเรื่องราวน่าสนใจอย่าง Everyday Karmakamet 

เจ้าของธุรกิจ Karmakamet มีที่มาจากคำว่า "Karma" ซึ่งหมายถึงโชคชะตา และคำว่า "Kamet" ซึ่งเป็นชื่อของภูเขาในแถบหิมาลัย การผสานกันระหว่างคำสองคำนี้นอกจากจะเป็นการเพิ่มกลิ่นอายความน่าหลงใหลให้กับแบรนด์แล้ว ยังเป็นการเชิญชวนให้ลูกค้าได้จินตนาการต่ออีกว่า "กลิ่นหอมกลิ่นไหนที่จะพาเราย้อนกลับสู่ความทรงจำในวันเก่าๆ ที่ไม่เคยลืมเลือนได้ลง"


"จุดเริ่มต้นและแรงบันดาลใจในการทำร้านเครื่องหอมของผม เกิดจากความเบื่อหน่ายโลกแห่งความวุ่นวาย ผมเคยทำงานที่ต้องแข่งกับเวลา งานที่ต้องสนองความต้องการของคนอื่นมากๆ และอะไรที่เกี่ยวข้องกับโลกทุนนิยมเยอะๆ (ณัทธรเคยทำงานเป็นสไตล์ลิสต์ และนักออกแบบตกแต่งภายใน) พอวันหนึ่งได้เจอกับหุ้นส่วนที่เรียนพวกเครื่องหอมมา เขาทำให้ผมรู้สึกว่าเรื่องของกลิ่นมีเสน่ห์และน่าสนใจ กลิ่นหอมเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ มันมีรูปธรรมของมัน แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีความเป็นนามธรรมซ่อนอยู่"


"ผมเชื่อว่าพวกเราทุกคนต่างมี "Secret World" หรือโลกเร้นลับเฉพาะของตัวเอง เป็นช่วงเวลาพิเศษที่เราสามารถดื่มด่ำความสุขจากคืนวันเก่าๆ ได้อย่างเต็มที่ โดยมีความหอมของกลิ่นที่คุณชื่นชอบเป็นสิ่งที่ช่วยพาคุณกลับสู่โลกใบนั้น” ณัทธรเล่าถึงที่มาและคอนเซ็ปท์ของ Karmakamet   

**ที่มาจากเว็บไซต์ TCDC (Thailand Creative & Design Center)**


3. คุณภาพของสินค้าเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม

หากสินค้ามีคุณภาพดี แถมยังมีการตลาดที่ดี สินค้าก็จะยิ่งเติบโตได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นเน้นการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพดีนั้น จะช่วยสร้าง Brand Loyalty อย่างยาวนาน และเน้นการทำ Modern Marketing ที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าสมัยใหม่

ซึ่งผลเสียจากการไม่ใส่ใจกับคุณภาพของสินค้ามีมากมาย เช่น อาจจะขายสินค้าได้แค่ครั้งเดียว หรืออาจจะไม่กลับมาอุดหนุนสินค้าอีก ถ้าแย่มาก ๆ ทางลูกค้าก็จะเริ่มวิจารณ์สินค้าบนโลกออนไลน์ 


โดยตัวอย่างของแบรนด์ที่กล้าการันตีคุณภาพของสินค้าในบทความนี้คือ Casper 


ที่นอน Casper เน้นตอกย้ำการใช้กลยุทธ์การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูง ถือว่าเป็นจุดแข็งที่สุดของแบรนด์นี้ โดยการันตีคุณภาพด้วยข้อเสนอสุดพิเศษ คือ 
  • สามารถทดสอบการนอนได้เป็นจำนวน 100 คืน 
  • หากใน 100 คืนนี้ไม่พอใจกับสินค้า สามารถติดต่อเพื่อขอรับเงินคืนเต็มจำนวนไปได้เลย 
  • แถมมีบริการส่งทั้งไปและกลับฟรีอีกด้วย 

และนี่คือกลยุทธ์ที่ Casper ใช้สร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์สินค้า เพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้ง่ายขึ้น 

สำหรับธุรกิจที่เน้นเรื่องของคุณภาพของสินค้าสามารถดูกลยุทธ์ได้ดังนี้

  • แสดงถึงแหล่งผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน 
  • แสดงถึงวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้า 
  • ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับอาหาร มันเป็นวัตถุดิบธรรมชาติไร้สารพิษตกค้างหรือไม่

จุดที่ควรระวังที่คือ อย่าสับสนระหว่างสินค้าที่มีคุณภาพสูง กับสินค้าหรูหราราคาแพง เพราะสินค้าที่หรูหราราคาแพง อาจมีได้มีคุณภาพที่แตกต่างไปจากสินค้าคุณภาพสูงที่โนเนม ดังนั้นโฟกัสว่าอยากจะให้ธุรกิจคุณเป็นสินค้าที่มีคุณภาพสูงหรือเป็นสินค้าที่หรูหรามากกว่ากัน

4. สร้างประสบการณ์ที่แตกต่างให้ลูกค้า

การสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า ถือเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้านะครับ ยกตัวอย่างเช่น ร้านค้าออนไลน์ของคุณเคสโทรศัพท์ สำหรับกลุ่มวัยรุ่นได้มีการส่งสินค้าไปยังลูกค้าด้วยการทำแพคเกจจิ้งที่สวยงามด้วยกระดาษอย่างดี พร้อมกับมีข้อความสั้น ๆ ที่เขียนด้วยลายมือ ซึ่งประสบการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ เหล่าบรรดาลูกค้าของคุณก็จะได้รู้สึกได้ทันทีเลยว่า มันแตกต่างจากร้านค้าทั่วไป ที่เพียงซื้อมาขายไปแล้วก็จบกัน ไม่ได้ใส่ใจกับลูกค้าเป็นรายบุคคลแบบนี้

ยกตัวอย่างแบรนด์ คือ The Body Shop ซึ่งเป็นแบรนด์เครื่องสำอางผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและน้ำหอมสำหรับผู้หญิง ที่ชอบความแตกต่างด้วยกลิ่นที่หลากหลายในสินค้า นอกจากแพคเกจจิ้งที่ทั้งดูหรูและสีสันจัดจ้าน แล้วยังมอบประสบการณ์ที่แตกต่างไปจากการซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและน้ำหอมทั่ว ๆ ไป ก็คือ ในแต่ละเดือน จะมีแพคเกจจิงแบบไหน และมีกลิ่นที่เปลี่ยนไปอย่างไร ทำให้สินค้าของแบรนด์กลายที่ครองใจผู้หญิงทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน

5. การตอบแทนลูกค้าหลังการขาย

10 วิธีที่สามารถแสดงความขอบคุณลูกค้าของคุณที่มีต่อแบรนด์ ดังนี้ 

  • เขียนจดหมายขอบคุณ 
  • ช่วยให้ลูกค้าได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกันกับสินค้า
  • เชิญลูกค้าร่วมรับประทานอาหารมื้อพิเศษ 
  • มอบสิทธิพิเศษสำหรับแฟน ๆ ที่ติดตามบนโลกโซเชียล 
  • ทำแคมเปญมอบเครื่องดื่มให้ฟรี โดยสามารถรับได้ฟรีที่ร้านกาแฟที่มีสาขาอยู่ทั่วโลก 
  • การโทรหาเพื่อขอบคุณแล้วถ่ายทอดสดบน Facebook Live เพื่อแสดงให้ลูกค้าได้เห็นว่าพวกเขามีความสำคัญต่อแบรนด์มากแค่ไหร 
  • อัพเกรดได้ฟรีสำหรับลูกค้าชั้นดี โดยคุณจะสามารถพบเห็นได้จากสายการบินต่าง ๆ ที่มีทั้งอัพเกรดเป็นคลาสที่สูงขึ้นได้ฟรีเมื่อสะสมไมล์ได้ครบตามกำหนด 
  • ส่งบัตรเชิญเข้าร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์ประจำปีของบริษัท เพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสกับประสบการณ์ที่สุดพิเศษ 
  • การหยิบยกคำพูดของลูกค้าขึ้นมาแสดงหน้าหลักของโซเชียลเน็ตเวิร์กของแบรนด์ ส่งบัตรกำนัลของขวัญให้กับลูกค้าที่พิเศษแทนการขอบคุณ อาจเป็นบัตรแลกของกำนัลของบริษัทในเครือ
       สร้าง Brand บน Online Marketing ให้ปัง ผ่านการสร้าง Value ของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการสร้างเรื่องราวให้แบรนด์ การเน้นเรื่องของคุณภาพสินค้า การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า จนถึงการขอบคุณลูกค้าหลังการซื้อสินค้า ทั้งหมดนี่จะช่วยให้แบรนด์ธุรกิจของเรานั้นแตกต่างจากคู่แข่งบนโลกออนไลน์ ส่งผลให้มีโอกาสที่ทางลูกค้าจะตัดสินใจซื้อสินค้ามากขึ้น ยอดขายและกำไรก็จะเพิ่มขึ้นได้


การตลาดออนไลน์ คืออะไร 

     เมื่อพูดถึงการตลาด เราจะเห็นได้ว่าในแต่ละยุคนั้นมีการตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปแตกต่างกัน เช่น สมัยในสมัยอดีตเราจะเห็นว่า มีสื่อโฆษณาหลากหลายมากไม่ว่าจะเป็น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ หรือแม้แต่ทีวี ซึ่งในแต่ละยุคในแต่ละสมัยนั้นความนิยมของสื่อโฆษณา ก็จะมีความแตกต่างกัน ดังนั้นหากใครสามารถใช้สื่อโฆษณาได้ตรงยุคสมัยให้เหมาะสมกับยุคนั้นๆ ก็จะทำให้เราได้เปรียบคู่แข่งในแง่การตลาด

     ณ ปัจจุบัน เราการเปลี่ยนของโลกเรานั้นรวดเร็วมาก โดยถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีซึ่งทำให้พฤติกรรมของมนุษย์เปลี่ยนไป ผมจะอธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ ในอดีตหากเราต้องการติดต่อกับใครซักคน เราคงต้องเขียนจดหมายไปให้ใครซักคนนั้นซึ่งต้องใช้เวลา  แต่ปัจจุบัน “มือถือ“ ได้เข้าเปลี่ยนแปลงให้มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันอย่างอิสระ โดยติดต่อได้ในทันทีทันใด และ  ณ ตอนนี้พลังของเทคโนโลยียังเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์เรา โดยจะเห็นได้ว่ามือถือที่เราใช้กัน เหมือนจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่จำเป็นของเราไปแล้ว

ยุคปัจจุบัน การตลาดเป็นอย่างไร ?

เนื่องจากพฤติกรรมของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไป การตลาดจึงต้องปรับตัวตามโดยที่ปัจจุบันคนสามารถ เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้อย่างอิสระ โดยในด้าน Comunity, Society   ก็จะนึกถึง Facebook  ในด้านหาข้อมูลก็หนีไม่พ้น Google ในการติดต่อสื่อสาร ก็จะเป็น LINE  ในด้านดูวีดีโอต่างๆก็คือ Youtube ในด้านข่าวสารที่ Real-Time ก็จะเป็น Twitter หรือแม้แต่ หากเราต้องการ Society ที่เหมือน Facebook แต่เน้นไปทางภาพและวีดีโอสตอรี่ ก็จะเป็น Instagram

เมื่อเราเข้าใจถึงคนในปัจจุบันแล้วเราจะเห็นถึงวิธีที่เข้าถึงกลุ่มคนเหล่านี้และใช้เครื่องมือทางการตลาดออนไลน์นั้นๆในการทำ โฆษณาไปสู่ลูกค้ากลุ่มนั้น ๆ

ตัวอย่างการตลาดออนไลน์ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง

  1. Facebook  จะใช้เครื่องมือโฆษณาคือFacebook Ads, Facebook Fanpage, Facebook Group เป็นต้น
  2. Google จะใช้เครื่องมือโฆษณาคือ Google Adwords และ SEO
  3. Line จะใช้เครื่องมือโฆษณาคือ Line@ และ Line official
  4. Twitter  จะใช้เครื่องมือโฆษณาคือ โฆษณา ผ่าน #แฮชแท๊ค
  5. Youtube จะใช้เครื่องมือโฆษณาคือ Youtube Ads ซึ่งมีหลากหลายเช่น Display Ad Overlay in-video ads , TrueView in-streams ad
  6. Instagram จะใช้เครื่องมือโฆษณาคือ  Instagram Ads

Ways to do branding design

Branding Design หรือการออกแบบการสร้างแบรนด์ถือเป็นจุดเริ่มต้นของกรอบความคิดในการออกแบบแบรนด์หรือสร้างแบรนด์ใหม่ๆเพื่อแจ้งเกิดในตลาด ซึ่งการออกแบบการสร้างแบรนด์นั้นจะส่งผลโดยตรงกับมุมมองของลูกค้า และปลายทางของมันนั้นก็คือการเติบโตและความสำเร็จของแบรนด์ ในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจถึงสิ่งที่คุณต้องคำนึงถึงก่อนจะสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จ กับสิ่งที่คุณต้องรู้และต้องทำเวลาจะทำ Branding Design 

ทำการ Research คู่แข่ง

การสร้างแบรนด์จะใช้แค่เพียงความคิดสร้างสรรค์ก็คงจะไม่ทำให้แบรนด์ของคุณประสบความสำเร็จในระยะยาวได้อย่างแน่นอน ไม่ใช่ว่าความคิดสร้างสรรค์จะไม่สำคัญนะครับเพียงแค่หากคุณจะเริ่มต้นสร้างแบรนด์นั้นคุณควรมองที่พื้นฐานจากการค้นหาข้อมูลและวิจัย (Research) คู่แข่งในตลาดเสียก่อน โดยคุณอาจเริ่มต้นด้วยการเปรียบเทียบข้อมูลคู่แข่งหลักๆสัก 5-10 แบรนด์ และวิธีที่จะหาข้อมูลที่เร็วที่สุดก็คือ Google it!!!! เพื่อนำมาหาดูว่าใครกันนะที่เป็นคู่แข่งที่แท้จริง

และเมื่อคุณค้นหาข้อมูลคู่แข่งในตลาดได้แล้วมันจะช่วยให้ทีมงานได้ไอเดียดีๆ และสามารถสร้างสรรค์แบรนด์ให้โดดเด่นกว่าที่มีอยู่เดิมในตลาดได้ อาทิ รูปแบบสื่อ รูปแบบคอนเทนต์ การเล่าเรื่องราว (Storytelling) ซึ่งข้อมูลที่ได้มานอกจากจะทำให้ทีมออกแบบสามารถสร้างสิ่งที่โดดเด่นกว่าแล้ว มันยังทำให้คุณเห็นอีกว่าอะไรเป็นสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำจากการเรียนรู้คู่แข่งครับ

Branding Design Research

ออกแบบให้มีความยืดหยุ่น

การออกแบบสื่อต่างๆให้กับแบรนด์นั้นต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ยิ่งในยุคดิจิทัลยิ่งต้องมีการออกแบบสื่อที่มากขึ้นกว่าเดิมไม่ว่าจะเป็นสื่อออนไลน์ โซเชียลมีเดีย อีเมล์ เว็บไซต์ รวมไปถึงแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชั่นอื่นๆ ดังนั้นการออกแบบควรปรับเปลี่ยนเพื่อใช้งานได้ง่ายปรับเปลี่ยนได้ง่ายและไม่เสียเวลามากไป เช่น ออกแบบเลย์เอ้าท์ไว้หลายๆแบบที่ใช้กับสื่อแต่ละประเภท รูปแบบโลโก้ที่ใช้ ตำแหน่งการวางคอนเทนต์ อาร์ทเวิร์คสำหรับขนาดของแต่ละสื่อ โดยควรทำเป็นคู่มือหรือ Brand Guideline ไว้เพื่อให้ง่ายต่อการทำงาน

ไม่ทำอะไรที่ซับซ้อนจนเกินไป

หลายๆครั้งที่ทีมออกแบบแบรนด์พยายามสร้างสรรค์โดยนำองค์ประกอบต่างๆมาใช้มากจนเกินไป ทำให้ทั้งเสียเวลาและอาจทำให้เกิดความสับสนตีความยากเกินไปจนได้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าพอใจนัก การออกแบบแบรนด์นั้นควรสื่อสารให้ง่ายมากที่สุดและอาจไม่ต้องถึงขนาดนำเสนอให้เห็นชัดเจนว่าแบรนด์ของคุณทำธุรกิจอะไร จนยัดทุกอย่างเข้ามาอยู่ในการออกแบบโดยเฉพาะกับการออกแบบโลโก้ครับ การสร้างแบรนด์ที่ดีนั้นควรออกแบบให้จดจำง่าย สื่อสารง่าย นำเสนอไอเดียที่ง่ายและชัดเจน ด้วยการเล่าเรื่องผ่านแคมเปญผ่านสื่อต่างๆโดยไม่ใช่แค่ให้ความสำคัญกับการออกแบบโลโก้เพียงอย่างเดียว ตัวอย่างแบรนด์ระดับโลกที่ออกแบบและสื่อสารแบบเรียบง่ายที่สุดก็เช่น Nike, Starbucks, McDonald’s เป็นต้น

Nike_logo_Swoosh

ใครคือกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง

การออกแบบแบรนด์ต้องตอบให้ได้อย่างชัดเจนว่า แบรนด์จะสื่อสารกับใคร แบรนด์อยากที่จะดึงดูดใครเข้ามาเป็นลูกค้า ไม่ใช่การยึดตัวของแบรนด์เป็นศูนย์กลางเพียงอย่างเดียว นั่นหมายถึงการออกแบบแบรนด์จำเป็นต้องเข้าใจ Persona ของกลุ่มลูกค้าในอุดมคติได้เป็นอย่างดีเพราะมันจะทำให้คุณเข้าใจความต้องการและความสนใจของลูกค้า เพื่อการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ของลูกค้าในอนาคตได้

แตกต่างแบบไม่เหมือนใคร

ส่วนสำคัญของการออกแบบการสร้างแบรนด์นั้นคือทำอย่างไรให้โดดเด่น แตกต่าง มีความพิเศษที่ไม่เหมือนแบรนด์อื่นๆในอุตสาหกรรมเดียวกัน และหากจะให้ดีก็ควรแตกต่างจากทุกอุตสาหกรรมครับ ทั้งการวางแนวทางของแบรนด์ การออกแบบอัตลักษณ์ต่างๆ (Brand Identity) ซึ่งลองเปรียบเทียบกับคู่แข่งแล้วนำมาปรับใช้กับการออกแบบแบรนด์ของคุณดูได้ และการออกแบบที่เด่นสะดุดตาก็มักจะทำให้ลูกค้านั้นสามารถจดจำแบรนด์ของคุณได้อยู่เสมอ

ให้ความสำคัญกับโลโก้

การออกแบบโลโก้ควรออกแบบเป็นรูปแบบไอคอนหรือสัญลักษณ์ (Icon / Symbol) กับรูปแบบตัวหนังสือ (Typography) เอาไว้ด้วย แม้ว่าโดยปกติแล้วโลโกในรูปแบบไอคอนหรือสัญลักษณ์แบบเพียวๆ (Standalone) จะแสดงถึงความเป็นมืออาชีพมากกว่าแต่มันเหมาะสำหรับแบรนด์ระดับโลกที่อยู่มาอย่างยาวนานที่ใครๆเห็นก็จดจำได้ เช่น โลโก้ Facebook, Twitter, Nike, Microsoft, Apple แต่ถ้าหากแบรนด์ของคุณยังไม่เป็นที่จดจำได้ขนาดนั้น ก็ควรคิดถึงการออกแบบที่นำเอารูปแบบไอคอนหรือสัญลักษณ์มาใช้ร่วมกับตัวหนังสือให้ได้อย่างเหมาะสมครับ เพื่อให้ลูกค้าจดจำได้ทั้งสัญลักษณ์และชื่อของแบรนด์ไปพร้อมๆกัน เช่น โลโก้ Chanel, Lexus, Rolls Royce

Icon and Typography Logo

อย่าลืมสื่อสาร Brand Message ให้ชัดเจน

ในการออกแบบแบรนด์สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ Brand Message หรือ ข้อความที่แสดงถึงความเป็นตัวตนของแบรนด์ คุณคือใคร เป้าหมายของแบรนด์คืออะไร อะไรคือคุณค่าของแบรนด์ ยิ่งชัดเจนเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้แบรนด์นั้นแข็งแกร่งและโดดเด่นมากยิ่งขึ้น เพราะการออกแบบไม่ใช่แค่เพียงโลโก้แต่มันคือการเล่าเรื่องราวของแบรนด์ (Brand Story) ทั้งหมดที่ถ่ายทอดออกมาสู่อัตลักษณ์ของแบรนด์ ทั้งโลโก้ สี ตัวหนังสือ สโลแกน ภาพที่ใช้ การออกแบบสื่อต่างๆ เป็นต้น นับเป็นหน้าที่ของทีมออกแบบที่ต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงรายละเอียดของแบรนด์และนำมาตกผลึกใช้ในงานออกแบบต่างๆครับ

ทำ Brand Guideline เอาไว้เสมอ

ทุกๆแบรนด์จำเป็นต้องทำคู่มือหรือคัมภีร์ในการสื่อสารความเป็นแบรนด์ของคุณ (Brand Guideline) โดยมีการระบุข้อกำหนดว่าสามารถใช้องค์ประกอบอะไรกับสื่อรูปแบบไหนได้บ้าง อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ โลโก้มีกี่รูปแบบ ใช้กับอะไรได้บ้าง เป็นต้น และจำเป็นต้องมี จุดมุ่งหมาย (Brand Purpose) วิสัยทัศน์ (Vision)พันธกิจ (Mission) คุณค่า (Values) เข้าไปด้วยเช่นกัน

เพียงเท่านี้คุณก็สามารถออกแบบและสร้างแบรนด์ได้อย่างโดดเด่นไม่ซ้ำใคร ที่สำคัญก็คืออย่ากลัวที่จะต้องปรับเปลี่ยนเพราะมันไม่มีอะไรที่อยู่ได้ยาวนาน เมื่อใดก็ตามที่บริบทของการแข่งขัน สภาพตลาด กลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนไป คุณก็จำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนแบรนด์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ


Content สำหรับธุรกิจ

Writing Content Marketing

กลยุทธ์การตลาดนั้นมีอยู่ด้วยกันหลากหลายรูปแบบและหนึ่งในนั้นคือการตลาดออนไลน์ (Online Marketing) รวมไปถึงการตลาดบนโลกโซเชียลมีเดีย (Social Media Marketing) ที่มาแรงมากในยุคนี้ที่หลายๆธุรกิจให้ความสำคัญกับการยิงโฆษณาในรูปแบบต่างๆเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย แต่ในยุคออนไลน์นั้นความสำคัญที่ไม่แพ้กันกับการยิงโฆษณานั่นก็คือการทำการตลาดด้วยคอนเทนต์ (Content Marketing) ซึ่งสามารถสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจได้เป็นอย่างดี โดยบทความนี้ผมจะพาทุกๆคนมาดูเหตุผลที่การทำ Content เป็นสิ่งที่ธุรกิจไม่ควรมองข้ามและควรหันมาเริ่มต้นทำกัน

What's next?

สร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ของคุณ

หลายๆคนอาจยังไม่รู้จักธุรกิจของคุณแต่หากคุณเริ่มสร้างคอนเทนต์และเริ่มยิงโฆษณาเพื่อดึงคนเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง แบรนด์ของคุณจะกลายเป็นที่รู้จักและสร้างให้เกิดอัตราเข้าชม การดูเนื้อหาบนเว็บไซต์ ซึ่งทั้งหมดก็คือการสร้างการรับรู้ในสายตาลูกค้าได้ว่าคุณทำธุรกิจอะไร คุณเชี่ยวชาญด้านไหน และสามารถแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าได้อย่างไร

สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เยี่ยมชม

การทำคอนเทนต์เป็นเรื่องเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายที่อยู่บนโลกออนไลน์และโซเชียลมีเดียเป็นหลัก โดยหากธุรกิจของคุณยิ่งสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่มีประโยชน์ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและมีการแชร์หรือบอกต่อไปเป็นวงกว้างมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้คุณกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับความน่าเชื่อถือมากขึ้นเท่านั้น

Website visitors

แสดงความเป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม

ลำพังแค่เพียงขายสินค้าหรือบริการอย่างเดียวนั้นไม่สามารถทำให้ธุรกิจของคุณก้าวไปถึงความเป็นผู้นำในตลาดได้ แต่หากธุรกิจคุณนำเสนอคอนเทนต์ในเชิงวิเคราะห์ การนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา การให้คำแนะนำ แสดงวิธีการ รวมถึงมี Testimonial หรือ Case Study ต่างๆมันจะช่วยยกระดับให้คุณกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญได้อย่างไม่ยากเย็น ซึ่งมันต่อยอดให้ธุรกิจคุณไปสู่ผู้นำได้ในอนาคต

ผลดีต่อ SEO และยอดการค้นหาผ่าน Search Engine

คอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายอยากรู้จะทำให้เกิดการค้นหาบน Google ผ่านคีย์เวิร์ดต่างๆซึ่งมันส่งผลดีกับการทำ SEO (Search Engine Optimization) โดยตรงกับเว็บไซต์ของธุรกิจคุณ ยิ่งคุณสร้างคอนเทนต์ที่มีประโยชน์ มีความเกี่ยวข้อง และตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเท่าไหร่ จะยิ่งเพิ่มจำนวนการค้นหามากขึ้นเท่านั้นแม้ว่าในตัวอัลกอริทึมของ Google จะเปลี่ยนไปมากขนาดไหนก็ตาม การทำคอนเทนต์จะที่เหมาะสมจะส่งผลให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับบน Google ได้ดียิ่งขึ้น

ผลดีต่อ SEO และยอดการค้นหาผ่าน Search Engine

โอกาสสร้าง Lead ให้กับธุรกิจ

เมื่อการทำคอนเทนต์สร้างให้เกิดการรับรู้ในธุรกิจของคุณและมีคนเข้ามาค้นหาข้อมูลผ่าน Google รวมไปถึงการพิมพ์หาเว็บไซต์โดยตรงในระดับหนึ่งแล้ว ก็จะกลายเป็นการเกิดโอกาสการสร้างโอกาสทางธุรกิจไปด้วยเช่นกัน และโอกาสที่จะเปลี่ยนจากผู้ที่สนใจมาเป็นลูกค้านั้นก็ไม่ยากเย็นจนเกินไปหากคอนเทนต์นั้นสามารถช่วยแก้ปัญหาให้กับพวกเขาได้

โอกาสเกิด Backlinks กลับมาที่เว็บไซต์

นอกจากคอนเทนต์จะช่วยให้เว็บไซต์และธุรกิจของคุณกลายเป็นที่สนใจได้แล้วนั้น สิ่งที่สำคัญอีกอย่างที่ส่งผลดีกับเว็บไซต์นั่นก็คือ Backlinks หรือการที่มีคนนำคอนเทนต์ของคุณไปโพสต์ตามเว็บหรือช่องทางออนไลน์ต่างๆแล้วลิ้งค์กลับมายังเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งมันสร้างให้เกิดจำนวนผู้เยี่ยมชมที่มากขึ้นและเป็นประโยชน์กับ SEO รวมไปถึงโอกาสทางธุรกิจอีกด้วยครับ

เหตุผลดีๆยังมีอีกมากสำหรับประโยชน์ของการทำคอนเทนต์ให้กับธุรกิจของคุณครับ และทั้งหมดเป็นแค่ตัวอย่างเพื่อให้ธุรกิจที่ยังไม่คิดจะเริ่มทำคอนเทนต์ ให้รีบวางแผนทำคอนเทนต์ดีๆกันได้แล้วนั่นเอง

การทำเนื้อหา หรือ คอนเทนต์ (Content) นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำการตลาดในยุคนี้ ไม่ว่าแบรนด์ต่างๆจะมีสินค้าหรือบริการดีมากแค่ไหน มีคอนเท้นต์ดีๆมากแค่ไหนแต่หากสามารถทำรูปแบบคอนเท้นต์ที่เหมาะสมเพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่ใช่ ก็อาจทำให้เสียเวลาและงบประมาณในการทำการตลาดได้ การใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Content Matrix สามารถช่วยให้เรามองเห็นความเหมาะสมของรูปแบบคอนเท้นต์ที่เหมาะสมกับทั้งประเภทธุรกิจ กลุ่มเป้าหมาย รวมถึงวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร ที่สามารถนำไปวางแผนการตลาดในการทำคอนเทนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Content Matrix

Content Matrix นั้นประกอบไปด้วย 2 มิติด้วยกัน โดยหากมองจากด้านซ้ายไปด้านขวาจะเป็นกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ที่เกิดจากการสร้างการรับรู้ (Awareness) ไปจนถึงการซื้อสินค้าหรือบริการ (Purchase) ในอีกมิติหนึ่งหากมองจากด้านบนลงล่าง คือ การตัดสินใจซื้อที่เกี่ยวข้องกับด้านอารมณ์ (Emotional) มาสู่การตัดสินใจซื้อด้วยความเป็นเหตุเป็นผล (Rational) ใน Content Matrix นั้นยังได้อธิบายให้เห็นถึงรูปแบบคอนเทนต์ที่แบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน คือ คอนเทนต์ประเภทให้ความรู้ (Educate) คอนเทนต์ประเภทโน้มน้าวใจ (Convince) คอนเทนต์ประเภทสร้างความบันเทิง (Entertainment) และ คอนเทนต์ประเภทสร้างแรงบันดาลใจ (Inspire) 

หากแบรนด์ของคุณเป็นประเภท B2C คอนเทนต์ที่เหมาะสมก็ควรเป็นคอนเทนต์ที่สร้างให้เกิดความบันเทิง อาจใช้รูปแบบการแข่งขัน การตอบคำถาม หรือเล่นเกมส์เพื่อให้กลุ่มลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมและสร้างการรับรู้ ที่เน้นการเข้าถึงด้วยอารมณ์เป็นหลัก และสร้างให้เกิดการซื้อสินค้าโดยการนำเอาดารานักแสดงมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ การโพสต์ข้อมูลลงในเว็บบอร์ดต่างๆ ที่ช่วยสร้างให้เกิดแรงบันดาลใจหรือตัวกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้า

ในทางกลับกันหากแบรนด์ของคุณเป็นประเภท B2B ความน่าเชื่อถือและรายละเอียดนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งต้องใช้เหตุและผลในการตัดสินใจซื้อ คอนเทนต์ที่ทำเพื่อสร้างการรับรู้อาจมีการเขียนบทความให้ความรู้ การทำข่าวประชาสัมพันธ์ การสื่อสารด้วย Infographic และโน้มน้าวให้ลูกค้าซื้อสินค้าด้วยการจัดอีเว้นท์ การทำ Webninar นำเสนอ Case Studies ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ การให้ทดลองใช้สินค้า ก็สามารถโน้มน้าวให้คนเกิดการซื้อสินค้าหรือบริการได้

เริ่มต้นใช้ Content Matrix อย่างไร

  1. ลองทบทวนดูว่าคอนเทนต์แต่ละประเภทนั้นมีคุณสมบัติอย่างไร และระบุให้ชัดเจนว่าคอนเทนต์แต่ละประเภทนั้นมีการวัดผล KPI อย่างไร เพื่อให้แน่ใจว่าเวลาเราสื่อสารออกไปแล้วจะได้ผลที่ดีที่สุด
  2. ลองดูว่าแบรนด์เราหรือในบริษัทเรานั้นใช้รูปแบบคอนเทนต์ประเภทใดอยู่บ้าง และมันอยู่ในส่วนไหนบ้างใน Content Matrix เพื่อดูว่าสิ่งที่เราเคยทำหรือทำอยู่นั้นมันเหมาะสมหรือไม่ เพื่อนำมาปรับใช้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  3. ลองเทียบกับคู่แข่งในประเภทธุรกิจเดียวกันว่า คู่แข่งใช้รูปแบบคอนเทนต์ประเภทไหนบ้างในการทำการตลาดหรือโปรโมทแบรนด์ ซึ่งจะเป็นตัวอ้างอิงที่ดีในการวางแผนการทำคอนเทนต์
  4. ระดมสมองกับทีมที่เกี่ยวข้องในการวางรุปแบบและประเภทคอนเทนต์ในอนาคต เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างคอนเทนต์ที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
  5. จากนั้นก็นำสิ่งที่เราทำการทบทวนตั้งแต่ขั้นตอนแรก มาเลือกรูปแบบคอนเทนต์ที่เหมาะสมและเริ่มวางแผนทำคอนเท้นต์ โดยคอนเทนต์ที่ทำนั้นก็ควรเป็นคอนเทนต์ที่ดึงดูดความสนใจคนด้วย

แม้ว่าเราจะเห็นความต่างของประเภทธุรกิจ และรูปแบบคอนเทนต์ที่เหมาะสม แต่ก็ไม่ใช่ว่าในธุรกิจ B2C จะไม่สามารถใช้รูปแบบคอนเท้นต์ที่ B2B ใช้ได้ เช่น หากแบรนด์เราเป็นแบรนด์เครื่องกรองน้ำลูกค้าก็ต้องอยากที่จะค้นหาข้อมูล ข้อดีของผลิตภัณฑ์ ที่มาของผลิตภัณฑ์ ซึ่งก็สามารถนำเสนอในรูปแบบบทความน่ารู้เกี่ยวกับเรื่องน้ำ หรือมุมมองอื่นๆได้ ฉะนั้นเราควรยึดที่วัตถุประสงค์ทางการตลาดและกลุ่มเป้าหมาย และนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด


การตรวจสอบการทำ Digital Marketing จำเป็นต้องวิเคราะห์ส่วนไหนบ้าง

ในการตรวจสอบการทำ Digital Marketing นั้นมีขอบเขตที่ควรนำมาวิเคราะห์อยู่ด้วยกัน 9 อย่าง ได้แก่
1. ตัวเล่มรายงาน
ลองมาดูกันครับว่าคุณมีสิ่งเหล่านี้บ้างแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่มีก็ควรหาเครื่องมือและกำหนดแนวทางให้ชัดเจนเพื่อความง่ายต่อการตรวจสอบผลลัพธ์
  • มีรูปแบบรายงานที่พร้อมนำเสนอ
  • มีตัววัดผลชัดเจน
  • มีระบบในการเก็บข้อมูลและทำรายงาน
  • รู้ว่าจะใช้ข้อมูลอะไรบ้างมาประกอบการวิเคราะห์ เช่น จำนวนยอดขาย จำนวนคนเข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเซ็นสัญญา จำนวนการโทร จำนวนการกดสั่งซื้อ
  • มีการเปรียบเทียบตัวชี้วัดกับงบประมาณที่ใช้
2. วัตถุประสงค์
ถ้ายังไม่มีรายละเอียดแผนการตลาดอย่างชัดเจนและมองเห็นอย่างทะลุปรุโปร่งแล้วว่า ทำการตลาดไปแล้วจะได้อะไร ทำเพื่ออะไร กับกลุ่มเป้าหมายใด ด้วยวิธีใด ก็ควรหาเวลาระดมสมองกับทีมงานเพื่อกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนแผนการทำ Digital Marketing กันก่อน และอย่าลืมครับว่าการตั้งวัตถุประสงค์นั้นต้องวัดผลได้จริง มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน ซึ่งต้องสะท้อนถึงสภาพความเป็นจริงด้วยเช่นกัน
3. เทียบจากกลยุทธ์เดิมที่มีอยู่
สำหรับการวางกลยุทธ์ Digital Marketing นั้นควรเปรียบเทียบจากแผนเดิมที่เคยทำอยู่เพื่อดูว่าอะไรที่มันไม่เวิร์คก็ควรนำมาปรับปรุงใหม่ อันไหนที่ทำแล้วมันออกมาดีก็ปรับใช้ต่อไปให้ดียิ่งขึ้นแต่หากว่าเป็นครั้งแรกที่เริ่มการวางแผน ก็ให้ลองจากวิธีการทำ A/B Testing เพื่อดูก่อนว่าในแต่ละสื่อที่คุณทำการตลาดออกไปคอนเทนต์รูปแบบไหนมันสร้างการมีส่วนร่วม (Engagement) ได้มากกว่ากัน หรืออาจลองดูจากคู่แข่งแล้วนำมาปรับใช้ดู
4. Marketing Technology
เรากำลังพูดถึงการนำเอาเทคโนโลยี (Marketing Technology) ที่ช่วยให้การทำการตลาดนั้นมีความง่ายและอัตโนมัติมากขึ้นมาใช้ ซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องนำระบบหรือเทคโนโลยีมาใช้กันแบบเต็มรูปแบบเพราะค่าใช้จ่ายมันค่อนข้างสูง โดยการวิเคราะห์นั้นก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการทำธุรกิจ การตลาด เทคโนโลยีที่คู่แข่งขันใช้ เพื่อดูว่าเราควรนำเทคโนโลยีอะไรมาใช้เพื่อเพิ่มความได้เปรียบบ้าง โดยลองตั้งคำถามเหล่านี้กับตัวเองดูครับ
  • ธุรกิจเรามีระบบหรือต้องการระบบในการสนับสนุนแผน Digital Marketing หรือไม่
  • ระบบที่มีอยู่เดิมสามารถสนับสนุนไปถึงเป้าหมายได้มากน้อยเพียงใด
  • มีตัวเลือกอื่นๆที่ดีกว่าเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับการตลาดหรือไม่
  • ทุกระบบนั้นเชื่อมโยงกันและทำงานได้อย่างดีพอหรือไม่
  • มีการใช้ระบบอัตโนมัติสำหรับกระบวนการสร้าง Lead รวมถึงดูแลกระบวนการขายหรือไม่
  • ระบบที่มีอยู่ช่วยให้การทำรายงานผลด้านต่างๆตามวัตถุประสงค์ มีความสะดวกรวดเร็วและทำให้การทำงานง่ายขึ้นหรือไม่
Marketing Technology for Digital Marketing Audit

5. ความคงเส้นคงวา
สำหรับการตลาดแล้วธุรกิจต้องแสดงให้เห็นถึงความคงเส้นคงวาของการสื่อสารหรือการโฆษณา โดยความคงเส้นคงวานั้นหมายถึงอัตลักษณ์ รูปแบบ การวางเลย์เอ้าท์ การใช้ตัวหนังสือ การใช้สี ตำแหน่งโลโก้ ที่จำเป็นต้องออกมาในแนวทางเดียวกันในทุกๆสื่อเพื่อสร้างประสบการณ์และการจดจำที่ดี และแน่นอนครับว่าทุกอย่างต้องสะท้อนออกมาจากวิสัยทัศน์ พันธกิจ รวมไปถึงคุณค่าของแบรนด์นั้นๆ ซึ่งความคงเส้นคงวานั้นมันก็นับเป็นหนึ่งในความสำคัญของการวัดและตรวจสอบกิจกรรมด้าน Digital Marketing เช่นกัน
6. โซเชียลมีเดีย
ช่องทางโซเชียลมีเดียถือว่าขาดไม่ได้สำหรับการทำ Digital Marketing ดังนั้นความพร้อมของสื่อที่คุณมีนั้นมีความสำคัญมาก เพราะมันคือโอกาสที่คุณจะสร้างการรับรู้ให้กับลูกค้าและชื่อเสียงให้กับแบรนด์รวมถึงธุรกิจของคุณ คุณต้องวางรูปแบบ เลือกใช้ภาพ เลือกใช้สี รูปแบบคอนเทนต์ ขนาดตัวหนังสือ คำนึงถึงสัดส่วนรวมถึงข้อจำกัดต่างๆของสื่อแต่ละสื่อ และทำการทดสอบทุกครั้งก่อนโพสต์อะไรออกไป หากคุณมองข้ามรายละเอียดต่างๆบนโซเชียลมีเดียมันก็อาจส่งผลเสียทำให้การตรวจสอบวัดผลทางโซเชียลมีเดียนั้นไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่คาดหวังไว้ ซึ่งแน่นอนครับมันจะส่งผลเสียต่อการวางแผน Digital Marketing ด้วยเช่นกัน
Social Media Audit for Digital Marketing
7. การทำ SEO
การทำ Digital Marketing ที่ขาดไม่ได้และถือว่าสำคัญที่สุดของธุรกิจนั่นคือ การให้ความสำคัญกับการทำ Search Engine Optimization หรือ SEO โดยทุกธุรกิจต้องหันมาจริงจังกับการทำเว็บไซต์ที่ถือว่าเป็นหน้าบ้านบนโลกออนไลน์ที่สร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า และจำเป็นต้องมีการปรับปรุงทั้ง UX/UI รวมถึงการตรวจสอบทั้งหน้าบ้าน (Front-end) และระบบหลังบ้าน (Back-end) เพื่อประสิทธิภาพในการทำ SEO อยู่เสมอและส่วนสำคัญที่จะทำให้การทำ SEO นั้นออกมาได้มีประสิทธิภาพและขึ้นไปอยู่อันดับแรกๆของการค้นหาบน Google ประกอบไปด้วย
  • เนื้อหามีคุณภาพ มีความยาว และมีความเหมาะสมเพียงพอ
  • เนื้อหาบนเว็บไซต์มีความเกี่ยวเนื่องกันกับสิ่งที่โฆษณาออกไป
  • ความเร็วในการโหลด
  • ความเป็น Responsive ที่ใช้ได้กับทั้งมือถือและเครื่องคอมพิวเตอร์
  • ใช้งานได้ง่ายบนมือถือ
  • จำนวนลิ้งค์เสียมีมากน้อยแค่ไหน
  • จำนวน Backlinks (ยิ่งมีมากยิ่งดี)
  • จำนวนลิ้งค์ภายในเว็บไซต์
  • ข้อความอธิบายรูปภาพ (ALT text)
  • คำอธิบายเนื้อหาของตัวเว็บไซต์ (Meta descriptions)
8. เนื้อหา (Content)
กลยุทธ์การทำการตลาดด้วยคอนเทนต์ หรือ Content Marketing เป็นสิ่งที่ทุกๆคนที่วางแผนด้าน Digital Marketing ต้องนำมาเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์อย่างแน่นอน ซึ่งตัวคอนเทนต์นี่แหละครับสามารถสร้างความสนใจให้กับผู้ชมและสร้างโอกาสให้กลายเป็นลูกค้าได้ในอนาคต การตรวจสอบการทำ Digital Marketing อยู่เสมอนั้นจะช่วยให้คุณรู้ถึงความสนใจของลูกค้าได้ โดยต้องให้ความสำคัญกับ Content Marketing Funnel และคุณได้เตรียมวางแผนการทำคอนเทนต์ในแต่ละรูปแบบมาบ้างแล้วหรือยัง

9. การทำ Pay-Per-Click (PPC)
อีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการทำ Digital Marketing ก็คือการซื้อโฆษณาในรูปแบบ Pay-Per-Click (PPC) หรือการที่คุณจะเสียเงินในทุกๆ ครั้งที่เกิดการคลิกเข้าไปดูเนื้อหาต่างๆ โดยการซื้อโฆษณานั้นนับว่าสามารถดึงดูดให้ลูกค้าสนใจได้มากเลยทีเดียว และหากจะซื้อโฆษณาประเภทนี้นั้นคุณก็ต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ของการทำ Digital Marketing ให้ชัดเจนเสียก่อน ตัววัดผลในแต่ละแคมเปญโฆษณาเป็นอะไร จะให้ลูกค้าคลิกลิ้งค์ไปที่ไหน อยากให้เกิดการกระทำ (Action) แบบใดและดูผล Conversion Rate ในแบบต่างๆว่าคุ้มค่าหรือไม่ โดยคุณจำเป็นต้องมีการติดตั้ง Google Analytics รวมถึง Facebook Pixel และอาจมีระบบอื่นๆที่เหมาะสม เพื่อเชื่อมโยงกับเว็บไซต์ก่อนจะทำแคมเปญโฆษณาใดๆก็ตามเพื่อสามารถวัดผลและตรวจสอบประสิทธิภาพได้อยู่ตลอดเวลา 
การตรวจสอบกิจกรรมและการทำ Digital Marketing นั้นมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ แต่ถ้าหากคุณเข้าใจบริบทต่างๆของโลกดิจิทัลแล้วคุณจะรู้ในทันทีเลยว่า การตรวจสอบวัดผลมันสร้างให้เกิดมูลค่าทางการตลาดที่มหาศาลในอนาคตอย่างไร และยังสร้างแต้มต่อให้เกิดขึ้นในตลาดรวมถึงประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดอีกด้วยครับ
content-marketing-funnel-psychology


วิธีสร้าง Brand Differentiation Strategy

หนึ่งในวิธีการสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จก็คือการเลือกใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสม และกลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ หรือที่เราเรียกว่า Brand Differentiation Strategy นั้น ก็เป็นหนึ่งกลยุทธ์ที่จะช่วยให้แบรนด์ของคุณโดดเด่นเอาชนะคู่แข่งและเข้าไปอยู่ในใจของผู้บริโภคได้ ซึ่งมันจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Advantage) Link ให้กับแบรนด์ของคุณนั่นเองครับ แล้วการสร้าง Brand Differentiation Strategy มันคืออะไรและมันมีวิธีในการสร้างให้กลยุทธ์นี้ออกมาดีได้อย่างไร เรามาดูคำตอบกันในบทความนี้ครับ


อะไรคือการสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ (Brand Differentiation)

เพื่อให้เข้าใจง่ายที่สุดในคำจำกัดความของความแตกต่างในตัวแบรนด์ นั่นก็คือ อะไรก็ตามที่สะท้อนให้เห็นว่าแบรนด์ของคุณนั้นไม่เหมือนกับคู่แข่งทั่วไปในตลาด โดยทั้งหมดทั้งมวลนั้นก็มาจากการที่คุณได้ทำการสำรวจตลาดจนได้ข้อมูลแล้วว่า คู่แข่งของคุณทำธุรกิจอะไร มีการนำเสนอสินค้าหรือบริการอะไร แล้วคุณจะวางตำแหน่งของแบรนด์อย่างไร (Brand Positioning) Link เพื่อให้แตกต่างจากคู่แข่งที่สามารถดึงดูดลูกค้าในตลาดได้ ซึ่งนั่นก็หมายความว่าคุณต้องมีความมั่นใจในระดับหนึ่งว่า สินค้า / บริการ / การสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้า / การนำเสนอ / ส่วนประกอบอื่นๆ นั้นมีคุณค่าและมูลค่าสำหรับลูกค้าจริงๆครับ โดยสามารถสรุปออกมาได้ 3 ลักษณะด้วยกัน

สร้าง Brand Differentiation Strategy อย่างไร
  1. ความแท้จริง
    เมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดความแตกต่างอย่างชัดเจน ก็มักจะตามมาด้วยคำถามที่ว่ามันแตกต่างจริงๆใช่หรือไม่ ซึ่งนั่นไม่ใช่แค่เพียงคุณลักษณะของสินค้าหรือการบริการเพียงเท่านั้น แต่มันหมายรวมถึงการอธิบายถึงความเป็นมาเป็นไปและคุณค่าของแบรนด์ ที่กลายเป็นส่วนหนึ่งที่หลอมรวมออกมาเป็นกลยุทธ์ จนสร้างให้เกิดประสบการณ์ที่ดี สร้างให้เกิดความประทับใจ จนนำไปสู่ความจงรักภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) Link ได้ด้วย ก็เรียกได้ว่ามันต้องออกมาจากการวางแผนแบบครบทั้งกระบวนการตั้งแต่เป้าหมาย (Purpose) วิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) คุณค่า (Values) ของแบรนด์นั่นเอง

  2. เกี่ยวข้องกันหรือไม่
    ในหลายๆครั้งที่คุณพยายามหาจุดแตกต่างจากคู่แข่ง เพื่อทำให้แบรนด์ของคุณนั้นดูโดดเด่นไม่ซ้ำใคร คำถามสำคัญต่อมาที่ควรมีอยู่ในหัวอยู่ตลอดนั่นก็คือ “มันใช่หรือเกี่ยวข้องอะไร” กับแบรนด์ของคุณที่ส่งผลต่อการส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้า แล้วมันเชื่อมโยงแบรนด์ของคุณกับลูกค้าได้หรือไม่ ลองคิดดูครับว่าหากคุณพยายามหาจุดที่แตกต่างจากคู่แข่ง แต่มันไม่ได้เชื่อมโยงอะไรกับแบรนด์ของคุณเลยสักนิด มันก็คงไม่มีประโยชน์และไม่ใช่การวางกลยุทธ์เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์อย่างแน่นอน

  3. ทำได้จริงหรือไม่
    ลักษณะที่ 3 ของการสร้าง Brand Differentiation Strategy ก็คือการพิสูจน์ให้ได้ว่าสิ่งที่คุณพูดหรือสื่อสารออกไปสู่กลุ่มลูกค้า มันมีความเป็นไปได้หรือทำได้จริงมากน้อยแค่ไหน แล้วมันเอาไปดำเนินการต่อได้หรือไม่ และบทพิสูจน์ว่าแบรนด์ของคุณนั้นแตกต่างอย่างแท้จริงนั่นก็คือ เมื่อคุณบอกว่าสินค้าหรือบริการของคุณดีแค่ไหนหรือเจ๋งแค่ไหน มันก็ต้องตอบสนองลูกค้าได้จริงเท่าที่สื่อสารออกไปหรือตอบสนองได้มากกว่านั้นให้ได้ครับ

ขั้นตอนการสร้าง Brand Story ให้กับธุรกิจ

เรื่องราวดีๆจะช่วยให้สมองของคุณกระตุ้นเคมีความสุขบางอย่างออกมา ทำให้เกิดความรู้สึกดีๆ ซึ่งเรื่องราวดีๆจะดึงดูดความสนใจและสร้างให้เกิดความสัมพันธ์อันดีกับคนอื่นๆ โดยคุณสมบัติที่จะทำให้การสร้างเรื่องราวให้กับแบรนด์นั้นออกมาดีได้นั้น สิ่งที่ทำหรือเรื่องราวจะต้องมีความหมาย สร้างความเชื่อมโยงเฉพาะบุคคล กระตุ้นอารมณ์และความเข้าอกเข้าใจ สื่อสารง่ายเข้าใจง่าย และต้องเป็นเรื่องราวที่แท้จริง

Grey Arrow

ขั้นที่ 1 รู้จักเรื่องราวของคุณเอง

ถ้าคุณไม่รู้จักและเข้าใจแบรนด์ของคุณเอง ก็คงจะไม่สามารถสร้างเรื่องราวอะไรดีๆให้เกิดขึ้นได้เลย สิ่งที่คุณต้องรู้นั้นคุณต้องรู้ว่า คุณคือใคร คุณทำอะไร คุณให้ความสำคัญกับอะไร และทำไมมันถึงสำคัญกับคุณ หากคุณไม่เข้าใจคำถามเหล่านี้ก็คงไม่สามารถกำหนดหรือเล่าเรื่องราวต่างๆออกมาได้อย่างถูกต้อง แล้วอะไรที่คุณควรรู้บ้างหละ

  • วิสัยทัศน์
  • พันธกิจ
  • คุณค่า
  • ข้อความที่ใช้ในการสื่อสาร
  • กลุ่มเป้าหมายของแบรนด์

เมื่อคุณเห็นภาพทั้งหมดแล้ว คุณก็จะเริ่มรู้แล้วว่าจะทำอะไรต่อไปในการคิดที่จะสร้างเรื่องราวและนำมันไปลองทดสอบอย่างจริงจัง

ขั้นที่ 2 ระดมสมองเพื่อหาไอเดียดีๆ

ไม่ว่าคุณจะอยู่ในอุตสาหกรรมไหนก็ตาม ธุรกิจจะใหญ่หรือเล็กก็ตาม ทุกอย่างล้วนมีเรื่องให้เล่าเสมอๆ แม้ว่าจะน้อยก็ไม่เป็นไร เพียงแค่คุณลองดูธุรกิจที่คุณกำลังทำให้ละเอียด และคุณก็จะค้นพบว่ามันมักจะมีเรื่องราวดีๆซ่อนอยู่ที่กำลังรอให้คนบอกต่อ คุณแค่เพียงไม่รู้ว่าจะบอกเล่าเรื่องราวอย่างไร และวิธีที่ดีที่สุดนั้นก็คือการระดมสมองนั่นเองครับ โดยนำขั้นตอนแรกมาระดมสมอง ดังนี้

“คุณคือใคร”

พยายามหาคำตอบเพื่อที่จะบอกให้คนอื่นๆรู้ ให้ได้ว่าแท้ที่จริงแล้วคุณคือใคร
คุณมีบุคลิกลักษณะอย่างไร วัฒนธรรมหรือความเชื่อเป็นอย่างไร
คุณให้ความสำคัญกับอะไร

เมื่อคุณได้คำตอบแล้ว คุณอาจนำมันมาเขียนเรื่องราวได้หลายรูปแบบ
เช่น เรื่องราวต้นกำเนิด การฉลองครบรอบ บทเรียนสำคัญที่ผ่านมา

“อะไรคือสิ่งที่คุณทำ”

คิดถึงสินค้าหรือบริการที่คุณทำ อะไรคือความโดดเด่น อะไรคือความพิเศษที่ลูกค้าจะได้รับจากแบรนด์ของคุณ
ซึ่งคุณสามารถบอกเล่าผ่านสื่อต่างๆ ด้วยการใส่ไอเดียในการเล่าเรื่องได้อย่างมากมาย

“คุณทำสิ่งนี้เพื่อใคร”

ลองคิดถึงว่าคุณอยากจะช่วยเหลือใคร ทำไมคุณถึงอยากทำสิ่งนั้น คุณจะช่วยเหลือได้อย่างไร และมันช่วยให้ชีวิตดีขึ้นได้อย่างไร ทุกๆคนอยากเห็นคอนเท้นต์ที่ให้ความรู้ สร้างแรงบันดาลใจ หรือแม้แต่การยกย่องส่งเสริม
ที่สามารถนำไปทำเป็นเรื่องราวอย่างสร้างสรรค์ได้

“ทำไมคุณถึงต้องทำ”

จุดมุ่งหมายสูงสุดที่นอกเหนือจากการขายสินค้าหรือบริการของคุณ
คืออะไร อะไรคือความห่วงใยของคุณอย่างแท้จริง

“คุณจะทำมันอย่างไร”

คุณจะส่งมอบวิสัยทัศน์ พันธกิจ คุณค่า ผ่านสินค้า บริการ รวมถึงกระบวนการผลิตอย่างไร
คุณมีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมอะไรใหม่ๆบ้างไหม
ธุรกิจของคุณโปร่งใสเพียงใด

“คุณวางอนาคตของคุณไว้อย่างไร”

อนาคตสามารถบอกได้ถึงความตั้งใจจริงของคุณ เพราะมันคือวิสัยทัศน์
ซึ่งควรนำมาบอกเล่าเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และมันอาจช่วยต่อยอดให้เกิดลูกค้า
รวมไปถึงดึงดูดพนักงานดีๆเข้ามาทำงานก็ได้

ขั้นที่ 3 คัดสรรไอเดีย

แม้ว่าไอเดียต่างๆที่คิดมาจะดูสร้างสรรค์และสนุกสนาน แต่บางครั้งมันอาจจะทำให้แก่นแท้ของเรื่องราวออกมาไม่ดีก็เป็นได้ ดังนั้นคุณจำเป็นต้องนำไอเดียต่างๆมาคัดสรรจนตกผลึกว่า ข้อมูลจากการระดมสมองที่ได้มาจะเอามาใช้กับไอเดียการเล่าเรื่องในรูปแบบใด ด้วยการลองตั้งคำถามเหล่านี้

  • ทำไมคุณถึงอยากเล่าเรื่องนี้
  • จะเล่าความโดดเด่นไม่เหมือนใครในมุมไหน
  • ลูกค้าจะได้คุณค่าอะไรที่เหมาะกับตันตนของพวกเขา
  • กลุ่มเป้าหมายจะได้อะไรกลับไป

ขั้นที่ 4 เลือกรูปแบบให้เหมาะสม

เมื่อคุณได้ไอเดียในการเล่าเรื่องแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดอีกสิ่งหนึ่ง คือ รูปแบบการเล่าเรื่อง ที่จะเป็นตัวกำหนดว่าการสื่อสารเรื่องราวของแบรนด์จะไปถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างเหมาะสมหรือไม่ เช่น บทความ วีดิโอ อินโฟกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว 

ขั้นที่ 5 ขัดเกลาเนื้อเรื่อง

เมื่อคุณได้ไอเดียในการสร้างเรื่องราวแล้ว ก็ถึงขั้นตอนในการทำให้เป็นเรื่องราวที่สามารถดึงดูความสนใจกลุ่มเป้าหมายให้ได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการกำหนดโครงสร้างในการเล่าเรื่องที่ดี โดยคุณอาจเริ่มจากการนำเอา Freytag’s Pyramid ซึ่งเป็นแนวทางการเล่าเรื่องแบบเก่าแก่มาใช้ ได้แก่

Freytag’s Pyramid

Freytag’s Pyramid

  • จุดเริ่มต้น (Introduction)
    ซึ่งเป็นจุดที่เริ่มต้นเรื่องราวทั้งหมด ทั้งเวลา สถานที่ โทนของเนื้อเรื่อง การแนะนำตัวละคร ที่ถ่ายทอดผ่านบทสนทนา การย้อนอดีต การเปรียบเทียบเรื่องราวคู่ขนาน เบื้องหลัง หรือแม้แต่การเล่าเรื่องแบบย้อนหลัง
  • ช่วงโหมโรง (Rising)
    จุดที่สำคัญในการผลักดันให้เนื้อเรื่องไปสู่จุดคลี่คลายหรือจุดสูงสุด (Climax) ที่จำเป็นต้องสร้างให้เกิดความประทับใจ และปลุกอารมณ์ให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้สึกถึงอารมณ์ร่วมไปกับสิ่งที่แบรนด์กำลังจะเล่า
  • จุดคลี่คลาย (Climax)
    จุดคลี่คลายหรือจุดสูงสุด คือ จุดที่ทุกอย่างกำลังจะถูกเปิดเผย เป็นจุดเปลี่ยนของการเล่าเรื่องราวหรือจุดเปลี่ยนชะตากรรมของพระเอกในการดำเนินเรื่อง หากเรื่องราวถูกนำเสนอแต่เรื่องดีๆที่คนคาดเดาได้ ก็อาจทำให้เกิดความรู้สึกขัดใจอยู่บ้าง แต่หากมีการหักมุมขึ้นมาผลลัพธ์ก็จะกลายเป็นเรื่องที่สร้างความประหลาดใจได้
  • ช่วงคลายปม (Falling Action)
    จุดที่ทุกอย่างได้ถูกเปิดเผยเพื่อมุ่งสู่การปิดฉากเรื่องราวต่างๆ หรืออาจเต็มไปด้วยความสงสัย ปมใหม่ๆ การหักมุม ให้เกิดการคาดเดาว่าต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นอีกบ้าง
  • จุดจบของเรื่องราว (Catastrophe)
    จากจุดเริ่มต้นที่มีการสร้างเรื่องราวให้คนติดตาม มาสู่จุดจบของเรื่องซึ่งอาจจะเป็นจุดจบในแบบมีความสุขสมหวัง ความผิดหวัง หรือสร้างให้เกิดการรอคอยบางสิ่ง

เมื่อคุณวางเรื่องราวได้เหมาะสมแล้ว คุณอาจจะนำเสนอในรูปแบบที่ต่างกันได้ เช่น

  • การนำเสนอปัญหา และทางแก้
  • การเปรียบเทียบก่อนใช้งาน และหลังใช้งาน
  • การนำเสนอวิธีการใช้งาน
  • การเล่าเรื่องประเภท Underdog หรือเรื่องราวที่แสดงให้เห็นถึงผู้ที่เสียเปรียบหรือด้อยโอกาสในสังคม
  • การเล่าเรื่องราวส่วนตัว

ขั้นที่ 6 ใส่ความเป็นแบรนด์ลงไป

ทุกๆคอนเท้นต์จำเป็นต้องสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นตัวตนของแบรนด์ จากทั้งสิ่งที่มองเห็นด้วยตาและคำพูดที่ใช้ เพื่อทำให้กลุ่มเป้าหมายจำได้ว่าแบรนด์ของคุณคือใคร ที่จำเป็นต้องแสดงให้เห็นถึงบุคลิกภาพของแบรนด์ (Personality) น้ำเสียงของแบรนด์ (Brand Voice) โทนของแบรนด์ ภาพที่ใช้แสดงถึงความเป็นตัวตนของแบรนด์ อัตลักษณ์ (Brand Identity) ต่างๆ ที่รวมไปถึงการใช้โทนสีของแบรนด์ในคอนเท้นต์แต่ละรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นวีดิโอ อินโฟกราฟิก หรืองานโฆษณา

ขั้นที่ 7 บอกต่อเรื่องราว

เมื่อได้รูปแบบคอนเท้นต์ที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จำเป็นต้องบอกเล่าเรื่องราวให้ทุกๆคนได้รับรู้ พยายามทำให้กลุ่มเป้าหมายสนับสนุนแบรนด์ของคุณ และช่วยกันแชร์ช่วยกันบอกต่อผ่านบล็อก โซเชียล มีเดีย หรืออีเมล์ และหมั่นตรวจสอบผลลัพธ์อยู่ตลอดเวลา

สร้าง Brand Differentiation Strategy อย่างไร

เมื่อคุณรู้ลักษณะของการสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ (Brand Differentiation) และได้ไอเดียในการวางกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างแล้ว ทีนี้เราลองมาดูแนวทางปฏิบัติไปพร้อมๆกันครับ

1. ลองพิจารณาดูว่าคุณอยากให้ทุกๆคนรู้ว่าคุณเป็นใคร

ในตลาดนั้นมีคู่แข่งอยู่มากมายที่นำเสนอจุดดีจุดเด่นเพื่อดึงดูดลูกค้า ดังนั้นคุณควรต้องโฟกัสหรือมุ่งเป้าไปที่การจะทำอย่างไรให้กลุ่มลูกค้าของคุณ สามารถเชื่อมโยงแบรนด์ของคุณให้เข้ากับพวกเขาให้ได้ และนั่นก็เป็นคำถามที่คุณต้องคิดครับว่า “คุณอยากให้ลูกค้าพูดถึงคุณว่าอย่างไร” “คุณอยากให้ลูกค้าจดจำคุณว่าเป็นใคร” นั่นเป็นจุดเริ่มต้นให้คุณนำไปเชื่อมโยงกับกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ (Brand Differentiation Strategy) ที่ดี โดยเมื่อคุณกำหนดแนวทางได้แล้วคุณก็ต้องทำในลักษณะนั้นให้ได้ด้วย

Who you are - Brand Differentiation Strategy

2. ลองทำวิจัยหรือ Market Research ดูบ้าง

อาจดูน่าเบื่อเมื่อพูดถึงการค้นคว้าหาข้อมูลแต่ว่ามันเป็นสิ่งจำเป็นจริงๆครับ เพราะมันจะช่วยให้คุณสร้างและตีกรอบให้กับแบรนด์กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น คุณจะเห็นว่าควรนำเสนอสินค้าหรือบริการอะไรให้ลูกค้า แล้วอะไรเป็นสิ่งที่ลูกค้ากำลังมองหาอยู่อย่างแท้จริง และนั่นจะทำให้คุณหาวิธีดึงดูดลูกค้าเป้าหมายได้อย่างไม่ยากเย็น

3. ปรับปรุงพัฒนาอยู่ตลอด

แม้ว่าคุณจะกำหนดและสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ได้แล้ว แต่ด้วยความที่มันยังมีการแข่งขันในเชิงธุรกิจอยู่ตลอดเวลา ซึ่งนั่นก็หมายถึงการต้องกระตุ้นให้แบรนด์ของคุณเองนั้น ยังคงมีความหมายและยังมีคุณค่าอย่างต่อเนื่องในสายตาของลูกค้าครับ สิ่งสำคัญคือคุณต้องทำให้ลูกค้านั้นยังนึกถึงคุณอยู่เสมอและทำไมยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องสนับสนุนแบรนด์ของคุณอยู่

4. บอกเล่าเรื่องราว

การที่แบรนด์จะแตกต่างได้อย่างชัดเจนก็ต้องหยิบยกประเด็นต่างๆมาเล่าสู่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายครับ โดยลูกค้าหลายๆคนจะเข้ามาเรียนรู้และค้นหาว่าคุณคือใครผ่านช่องทางต่างๆ และโดยหลักๆแล้วก็จะเข้ามาอ่านข้อมูลบนเว็บไซต์ซึ่งนั่นก็เป็นช่องทางที่คุณควรจะใส่ข้อมูลเรื่องราวของแบรนด์ลงไป นอกจากนั้นคุณยังสามารถนำไปปรับใช้กับการสื่อสารผ่านช่องทางอื่นๆทั้งในรูปแบบวีดิโอหรืออินโฟกราฟิก และยังเอาไปใช้ในงานต่างๆที่เหมาะสมได้อีกมาก

การบอกเล่าเรื่องราว (Story)

5. สร้างความเชื่อมโยง

ทั้งหมดทั้งมวลที่ได้กล่าวมานั้นจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพเลย หากว่ามันไม่มีความเชื่อมโยงหรือเกี่ยวข้องกันที่สร้างผลดีให้กับลูกค้าและตัวของแบรนด์ครับ และความเชื่อมโยงนั้นก็แยกออกมาได้หลายอย่าง เช่น

  • สิ่งนั้นตรงกับความเป็นแบรนด์ของคุณมากแค่ไหน
  • ตอบสนองต่อลูกค้าได้มากน้อยแค่ไหน
  • ใช่ในสิ่งที่ลูกค้าต้องการแค่ไหน
  • ช่องทางการสื่อสารมันตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากแค่ไหน
  • เนื้อหาที่ใช้มันตรงกับลูกค้ามากน้อยเพียงใด

ความเชื่อมโยงจะช่วยให้การสร้างความแตกต่างนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะมันจะทำให้ลูกค้าของคุณนั้นไม่ต้องเสียเวลามากกับการมองหาคู่เปรียบเทียบใหม่ๆ ซึ่งมันอาจจะจบทุกสิ่งอย่างได้ที่แบรนด์ของคุณในทันที

What's next?

องค์ประกอบสู่ความสำเร็จของ Brand Differentiation

นอกเหนือจากการข้อมูลทั้งหมดที่ได้กล่าวไปในหัวข้อข้างต้นแล้ว ยังมีอีกบางองค์ประกอบที่จะช่วยเสริมสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ของคุณ กับ 3 องค์ประกอบสำคัญๆ ได้แก่

1. ชื่อของแบรนด์

Naming

สิ่งที่ง่ายที่สุดในการแยกความแตกต่างระหว่างแบรนด์นั่นก็คือชื่อของแบรนด์ครับ การตั้งชื่อแบรนด์จึงเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างเพราะมันจะส่งผลไปถึงเรื่องของ Brand Identity หรืออัตลักษณ์แบรนด์ Link ด้วย โดยการตั้งชื่อแบรนด์นั้นในแนวคิดคือมันต้องสร้างความเชื่อมโยงบางอย่างกับลูกค้าให้ได้ ยิ่งสร้างความเชื่อมโยงได้ดีมากแค่ไหนก็จะยิ่งทำให้ชื่อแบรนด์นั้นเป็นที่จดจำได้มากขึ้นนั่นเอง เช่น เมื่อลูกค้านึกถึงเรื่องบ้านคุณจะนึกถึงแบรนด์อะไร เมื่อนึกถึงร้านอาหารไทยจะคุณจะนึกถึงแบรนด์อะไร เมื่อนึกถึงแบรนด์ที่ชอบช่วยเหลือสังคมคุณจะนึกถึงแบรนด์อะไร นั่นแหละครับความเชื่อมโยงที่สะท้อนมาจากหลายๆอย่างที่หลอมรวมให้ชื่อแบรนด์นั้นทรงพลังและสร้างความแตกต่างได้

การตั้งชื่อแบรนด์นั้นก็มีอยู่หลายรูปแบบยังไงก็ลองเข้ามาอ่านได้ที่นี่ครับ >> รูปแบบการตั้งชื่อแบรนด์ (Brand Naming) มีอะไรบ้าง Link โดยหลักของการตั้งชื่อแบรนด์ก็มีอยู่ง่ายๆครับ คือ สะท้อน/แสดงให้เห็นว่าคุณคือใคร สั้นๆได้ใจความ สร้างการจดจำได้ง่าย มีความดึงดูดเพียงพอ

2. ความเป็นแบรนด์

Branding

การมีแค่ชื่อแบรนด์หรือชื่อสินค้าแล้วหากจะเหมารวมเรียกว่ามีความเป็น Branding คงจะเป็นความเข้าใจที่ผิดครับ เพราะหากคุณนึกอยากจะตั้งชื่อแบรนด์ กำหนดโลโก้และโทนสี ทำการตลาด แล้วนำสินค้าออกสู่ตลาด แต่ไม่ได้มีการปูทางหรือสร้างความเชื่อมโยงใดๆ ไม่มีการเล่าเรื่องราวใดๆ ไม่มีการวางแนวทางของแบรนด์ใดๆ ตั้งแต่การกำหนดเป้าหมาย (Purpose) วิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) คุณค่า (Values) แล้วถ่ายทอดออกมาเป็นกระบวนการต่างๆในการทำงานและการวางแผน มันก็ไม่ใช่ความเป็น Branding ที่แท้จริงครับ และความแตกต่างอาจจะไม่เกิดขึ้นเลยเพราะโอกาสในการซ้ำซ้อนหรือทับซ้อนกับคู่แข่งขันในตลาดนั้นก็จะมีมากขึ้น

3. ความโดดเด่นของภาพที่แสดงออกมา

Visual Identity

Visual Identity ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ 3 ที่สำคัญในการเป็นสื่อกลางสำหรับการถ่ายทอดทุกๆ อย่างของแบรนด์ไปสู่ตลาดและกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และแน่นอนครับว่า Visual Identity ที่สื่ออกมาไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้ภาพ การใช้โทนสี การใช้ตัวอักษร การวางตำแหน่งต่างๆ การเลือกใช้โลโก้ และอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดไม่ใช่แค่การสร้างองค์ประกอบให้ดูสวยงามน่าจดจำ แต่มันต้องมีความหมายที่เชื่อมโยงความเป็นแบรนด์ด้วยเช่นกัน และนั่นก็มากจากการวางแผนต่างๆตั้งแต่แรกเริ่มจากทั้งหมดที่ผมได้กล่าวมาในบทความนี้นั่นไงครับ

กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ (Brand Differentiation Strategy) นั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและมีรายละเอียดค่อนข้างมาก โดยมันอาจจะใช้เวลาในการคิดทบทวนและกลั่นกรองสักระยะหนึ่ง แต่ว่าหากคุณต้องการสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์อย่างแท้จริงและยืนยาวในอนาคต


วิธีการแบ่งกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

รู้จักลูกค้า 7 ประเภท แล้วคุณเองเป็นแบบไหน

เหตุผลของการมีอยู่และการเติบโตของธุรกิจคุณนั่นก็คือลูกค้า (Customer) ซึ่งลูกค้าแต่ละคนนั้นก็มีประเภทและลักษณะที่ไม่เหมือนกัน โดยหลายๆครั้งมันก็เป็นเรื่องที่น่าปวดหัวสำหรับนักการตลาดในการวางแผนเพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการ เพราะไม่รู้ว่าจะขายอย่างไรกับลูกค้าที่มีหลากหลายประเภทเหลือเกิน มารู้จักกับลูกค้าทั้ง 7 ประเภท


ลูกค้า 7 ประเภทที่คุณเป็นและนักการตลาดต้องเจอ

ลูกค้าแต่ละประเภทก็จะมีข้อง่ายและข้อยากในการทำการตลาดที่ต่างกัน แต่หากคุณสามารถทำความเข้าใจประเภทของลูกค้าได้อย่างแตกฉานแล้วละก็ มันจะทำให้คุณวางแผนการตลาดรวมถึงการสื่อสารเพื่อเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายมากขึ้น

1. ลูกค้าแบบ Loyalty Customer

เริ่มด้วยลูกค้าที่มีความสำคัญมากที่สุดสำหรับธุรกิจซึ่งนั่นก็คือ Loyalty Customer Link หรือลูกค้าที่จงรักภักดีกับแบรนด์หรือสินค้าของคุณแบบที่เรียกได้ว่า กลับมาซื้อซ้ำๆอยู่บ่อยๆไม่ย้ายไปค่ายอื่นแต่อย่างใด โดยลูกค้ากลุ่มนี้จะแนะนำและบอกต่อสินค้าหรือบริการของคุณแบบปากต่อปากและบนโลกโซเชียลครับ และคุณสามารถเพิ่มยอดขายให้เกิดขึ้นด้วยการสนับสนุนให้ลูกค้ากลุ่มนี้เป็น Customer Brand Ambassador Link ได้เช่นกัน หรือเรียกได้ว่ามันก็คือการสร้างให้เกิด User-Generated Content นั่นเองครับ และถ้าคุณเจอลูกค้ากลุ่มนี้ก็อย่าทำอะไรไม่ดีจนพวกเขาหายไป พยายามรักษาสัมพันธ์อันดีในทุกรูปแบบเพื่อที่พวกเขาจะได้อยู่กับคุณไปตลอด

2. ลูกค้าซื้อสินค้าเพราะความจำเป็น

เพราะความจำเป็นเท่านั้นทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้หันมาซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ พวกเขารู้ว่ากำลังมองหาอะไรอยู่หรือกำลังมีปัญหาอะไรที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยลูกค้ากลุ่มนี้มักจะไม่สะดวกที่จะพูดคุยจุกจิกหรือต้องนำเสนออะไรมากมาย ซึ่งคุณสามารถทำให้พวกเขาเหล่านี้กลายมาเป็น Loyalty Customer Link ได้ ด้วยการสร้างความสัมพันธ์อันดีแบบส่วนตัวและตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็วไปแบบตรงๆเลย

3. ลูกค้ามือไวใจเร็ว

ลูกค้ากลุ่มนี้จะไวต่อการซื้อสินค้าหรือบริการค่อนข้างมาก โดยส่วนใหญ่จะมือไวใจเร็วตามความรู้สึกและอารมณ์ ดังนั้นวิธีง่ายๆที่จะหยุดลูกค้าให้สนใจซื้อสินค้ากับคุณก็เพียงแค่ทำให้พวกเขารู้สึกดีหากได้ซื้อสินค้าชิ้นนี้ โดยโน้มน้าวใจให้ลูกค้าหยิบของใส่ตะกร้าสินค้าแบบรวดเร็วทันใจไม่ว่าจะเป็นรูปแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ก็ได้หมด และความสำคัญก็คือการทำคอนเทนต์ที่เหมาะสมโดนใจ

ลูกค้ามือไวใจเร็ว

4. ลูกค้ามือใหม่

ลูกค้ามือใหม่หมายถึงการที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของคุณแล้ว แต่ยังไม่มีประสบการณ์กับแบรนด์ของคุณหรือเรียกได้ว่ายังใหม่ต่อสินค้าหรือบริการของคุณนั่นเอง ดังนั้นเป็นหน้าที่ที่คุณต้องช่วยให้ลูกค้านั้นได้ใช้สินค้าหรือบริการของคุณได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเฉพาะถ้าเป็นธุรกิจเกี่ยวกับ Digital Platform หรือการทำธุรกรรมผ่านมือถือ ก็จำเป็นต้องมีทีมสนับสนุนที่ดีและรวดเร็ว

5. ลูกค้าที่มีศักยภาพ

เราจะคุ้นๆกับคำว่า Potential Customer หรือลูกค้าที่มีโอกาสและศักยภาพสูงที่จะซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ โดยอาจไม่ได้จำเป็นต้องซื้อสินค้าของคุณในช่วงแรกในทันทีก็ได้ครับ เพราะพวกเขาอาจจะยังทำการศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมในสิ่งที่กำลังหาซื้ออยู่ และนั่นเป็นเหตุผลที่คุณจำเป็นต้องนำเสนอข้อมูลที่ดีพอสำหรับดึงลูกค้ากลุ่มนี้มาให้ได้ โดยแสดงให้เห็นถึงคุณค่าและความคุ้มค่าของสินค้าหรือบริการที่คุณมี และเตรียมพร้อมเรื่องข้อมูลรวมถึงการเตรียมทีมสนับสนุนในการตอบข้อสงสัยต่างๆในทุกช่องทางที่ลูกค้าเปิดรับ

6. ลูกค้าที่จ้องแต่ส่วนลด

เราจะพบเจอกับลูกค้าประเภทนี้ค่อนข้างบ่อยครับ โดยลูกค้าจะรอถึงจังหวะที่แบรนด์นั้นลดราคาในช่วงเทศกาลต่างๆ และบางครั้งคุณอาจจะเจอกับลูกค้าที่ถามคุณตรงๆเลยว่า “จะลดราคาเมื่อไหร่” แล้วก็เฝ้ารอเวลานั้นให้มาถึง ในฐานะที่คุณเป็นแบรนด์เจ้าของสินค้าหรือธุรกิจการให้บริการก็จำเป็นต้องมองถึงการนำเสนอราคาที่โดนใจ มากกว่าการทำ Cross-Selling หรือ Up-Selling Link เพราะว่าลูกค้าจะมุ่งเป้าหมายไปที่ราคาที่ดีที่สุด จนบางครั้งอาจจะไม่ได้เน้นเรื่องความจำเป็นใดๆเลยก็ได้ครับ ลูกค้ากลุ่มนี้จะไม่ค่อยมี Loyalty กับแบรนด์หรือสินค้าใดสินค้าหนึ่งเป็นหลัก เพราะติดตามเรื่องของราคาเป็นสำคัญ และสิ่งที่คุณพอจะทำได้นั่นก็คือพยายามเสนอคุณค่าหรือมูลค่าเพิ่ม (Value Added) เข้าไปโดยต้องอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจจนยอมรับให้ได้

ลูกค้าที่จ้องแต่ส่วนลด

7. ลูกค้าที่พลัดหลงมา

ประเภทสุดท้ายเป็นกลุ่มลูกค้าที่ไม่ได้เจตนาจะมาซื้อสินค้าของคุณครับ แต่อาจเกิดอาการที่เดินเข้ามาในร้านค้าของคุณแบบไม่ได้ตั้งใจ เพราะอาจจะเดินเล่นๆฆ่าเวลาในระหว่างการรอเพื่อนไปทำธุระต่างๆ โดยลูกค้ากลุ่มนี้อาจตั้งคำถามหลายอย่างกับสินค้าของคุณก็ได้ และคุณก็อาจจะทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้กลายมาเป็นลูกค้าที่แท้จริงเลยก็ได้เช่นกัน ด้วยการตอบคำถามให้ดีและตรงจุดด้วยความเป็นมืออาชีพที่สุด


แบรนด์ควรทำการตลาดอย่างไรในวันที่พฤติกรรมผู้โภคเปลี่ยนไปเป็นแบบ 5.0


ในยุคที่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

การทำการตลาดแบบเดิม ๆ ไม่อาจได้ผลอีกต่อไป

แล้วแบรนด์ และนักการตลาดควรรับมืออย่างไรกับผู้บริโภคยุคใหม่แบบ 5.0 นี้ มาหาคำตอบ

สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) จัดสัมมนาการตลาด “WEvolution: ปฏิบัติการถอดรหัสผู้บริโภคยุค 5.0” สำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภค จำนวนกว่า 1,300 คน ที่มีอายุระหว่าง 18-57 ปีขึ้นไป ครอบคลุมผู้บริโภคในทุกเพศ ทุกวัย

จากการถอดรหัสหลักคิดเชิงลึกของผู้บริโภคที่สะท้อนตัวตนของผู้บริโภคไทยยุค Gen We ที่แบ่งกลุ่มได้โดยพฤติกรรมและทัศนคติ แบ่งได้เป็น คลัสเตอร์ใหม่ (Cluster)



1. กลุ่มมังกร (Dragon) ผู้ต้องการความมั่นคงและสมดุลในชีวิต (Confucianism)

เป็นคนประเภท Introvert หรือคนเก็บตัว มีไลฟ์สไตล์ที่ไม่ตาม Celeb คนใด เน้นแชร์ความสุขในแบบตนเอง แชร์ในสิ่งที่ตัวเองสนใจ ย้ำคิดย้ำทำกับสิ่งที่ตัวเองชอบ

เน้นจุดมุ่งหมายบั้นปลายของชีวิต ลงทุนแบบรับความเสี่ยงได้น้อย เช่น ประกันต่าง ๆ พันธบัตร และลงทุนแบบเน้นคุณค่า (VI) มักใช้สื่อออนไลน์ Line, Facebook Messenger

สถานที่โปรดคือ ที่บ้าน ที่ทำงาน ร้านหนังสือ วัด มีเป้าหมายและแรงจูงใจคือ ต้องการความสมดุลในชีวิต ความสุขสงบ ได้ใช้เวลาวัยเกษียณกับครอบครัว


2. กลุ่มแฟรี่ (Fairy) ผู้ต้องการเสพสุขตามติดกระแส (Hedonism)

เป็นคนประเภท Ambivert มีไลฟ์สไตล์ ชื่นชอบตามดาราหรือผู้อยู่ในกระแส FOMO, Influencer เน้นแชร์อวดหรือกระแสตามเทรนด์ แชร์เฉพาะเรื่องที่อยู่ในกระแสในขณะนั้น เน้นการลงทุนที่ตามกระแสต่าง ๆ รับความเสี่ยงได้สูงถึงปานกลาง เช่น Cryptocurrency หุ้น ใช้สื่อออนไลน์  Facebook Group & Page, IG สถานที่โปรดคือ คาเฟ่ งานกิจกรรมต่าง ๆ เป้าหมายและแรงจูงใจคือ ต้องการได้รับการยอมรับในสังคม มีความสุขในทุกช่วงชีวิตและอยู่ในโลกที่สวยงาม


3. กลุ่มฟีนิกซ์ (Phoenix) ผู้ต้องการขับเคลื่อนโลกและสังคมให้ดีขึ้น (Pragmatism)

เป็นคนประเภท Extrovert ไลฟ์สไตล์ชอบตามเฉพาะ Professional จริง ๆ เน้นแชร์เรื่องราวตามความเป็นจริง แชร์สาระความรู้ที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น เริ่มลงทุนเร็ว เน้นกระจายความเสี่ยง เช่น Cryptocurrency หุ้น และกองทุนรวมต่าง ๆ เป็นต้น บริหารเงินเป็น มีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน ใช้สื่อออนไลน์ IG, Twitter, Facebook Page, Clubhouse สถานที่โปรดคือ ห้างสรรพสินค้า คอนเสิร์ต สถานที่ออกกำลังกาย เป้าหมายและแรงจูงใจคือ การมีส่วนช่วยขับเคลื่อนสังคมและโลกนี้ให้ดีขึ้น ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ


จากทั้งสามกลุ่มข้างต้นทำให้ CMMU คิดกลยุทธ์มัดใจผู้บริโภคเพื่อให้แบรนด์ ผู้ประกอบการนำไปปรับใช้ผ่านกลยุทธ์ “GEN We” Group by Clustering จัดกลุ่มลูกค้าให้เป็น พร้อมค้นหากลุ่มเป้าหมายใหม่ การจัดกลุ่มลูกค้าแบบเดิม Segmentation ที่ใช้แค่เพศ เจเนอเรชั่น หรือรายได้มาแบ่งกลุ่มลูกค้า แต่จะใช้การแบ่งคลัสเตอร์ตามทัศนคติและพฤติกรรมผู้บริโภค 


Environment ต้องสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนให้ธุรกิจ/สินค้า เพื่อสร้างการยอมรับของผู้บริโภค ทุกการดำเนินธุรกิจ จะต้องสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนให้ธุรกิจและสินค้าตนเอง อันส่งผลประโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวม จะทำให้ผู้บริโภคยอมรับและสนับสนุนแบรนด์สินค้านั้น ๆ เพราะเกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม


Neverending Development ต้องพัฒนาแบรนด์/สินค้าให้ทันกระแสอยู่เสมอ เพื่อช่วงชิงพื้นที่ในใจผู้บริโภค ผู้บริโภคปัจจุบันเสพกระแสตามเทรนด์ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นใหม่เสมอ ธุรกิจที่พัฒนาแบรนด์หรือสินค้าให้ทันต่อกระแสได้รวดเร็ว สร้างภาพลักษณ์แบรนด์ให้แตกต่าง จดจำง่าย และสร้างจุดยืนของแบรนด์ได้ชัด จึงมักชนะใจและเกิดการบอกต่อ หรือ Word of Mouth


Wholeheartedness ต้องทำการตลาดอย่างตรงไปตรงมา เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและภักดีต่อสินค้าของผู้บริโภค ท่ามกลางการแข่งขันของธุรกิจปัจจุบันที่ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว ธุรกิจต้องทำการตลาดอย่างตรงไปตรงมา ไม่หลอกลวง อ้างประโยชน์ของสินค้าเกินจริง ซึ่งผู้บริโภคจะภักดีต่อสินค้าที่มีคุณภาพดีจริงและการให้บริการข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน เพราะ “ที่มาความภักดี เริ่มต้นที่ความจริงใจ”


Emerging Media สื่อที่ไม่ใช่สื่อกระแสหลัก นิยมเพิ่มสูงขึ้นเพื่อสร้างการเข้าถึง-ขยายฐานผู้บริโภค ธุรกิจต้องปรับตัวให้ทันต่อการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มมีเดียใหม่ ๆ ซึ่งสื่อที่ใช้โดยคนเฉพาะกลุ่ม เช่น Spotify, Clubhouse, Blockdit, Podcast, TikTok ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคปัจจุบันเพิ่มขึ้น ๆ ธุรกิจจึงต้องทันเทคโนโลยี และเลือกสื่อให้เหมาะสมตามกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้าง Top of Mind แบรนด์ในใจของผู้บริโภค



ทั้งนี้ CMMU  ได้ให้มุมมองกับแบรนด์ในการปรับแผนการตลาดให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภค ด้วย ทางออกสำคัญคือ

1. สร้างแคมเปญช่วยสังคมและสิ่งแวดล้อม การมองเห็นปัญหาสังคม สิ่งแวดล้อม/ปัญหาใกล้ตัวผู้บริโภค โดยไม่เน้นขายสินค้า และการแสดงออกถึงน้ำใจ/พลังของการให้จากแบรนด์ใหญ่ที่อาจจะไม่ได้รับผลกระทบมากนักถึงแบรนด์เล็ก สะท้อนความจริงใจต่อคู่ค้าและผู้บริโภค ถือเป็นหนึ่งแนวทางเรียกคะแนนและแรงสนับสนุนให้ผู้บริโภคอยากเข้ามามีส่วนร่วมกับแบรนด์


2. สร้างจุดยืนแบรนดิ้งให้เด่นชัด ตรงใจผู้บริโภค กระแสเทรนด์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมาก ธุรกิจต้องเร็วในการชูจุดยืนของแบรนด์ให้เด่น ตรงใจเหนือจากคู่แข่งรายอื่น


3. ไม่สร้างภาระผู้บริโภค ผ่านการปรับกลยุทธ์ เช่น ลดต้นทุนการผลิต ปรับราคาลดลงมาให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าที่ถูกใจได้แต่ไม่สร้างภาระเพิ่ม เป็นต้น