แบรนด์ คือ “ความคิดรวบยอด” ของผู้ซื้อที่มีต่อ “ตัวตน” ของสินค้าหรือบริการรวมถึงองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ด้วยทั้งหมด เช่น เมื่อเรานึกถึงแบรนด์ “Apple” เรานึกถึงโลโก้รูปแอปเปิลที่เรียบง่ายกับสโลแกน “Think Different” ที่แทบไม่ได้ใช้ เพราะตัวตนของแบรนด์ชัดเจนแล้ว เรานึกถึงสินค้าที่เรียบง่าย ดีไซน์สวย ใช้งานง่ายแฝงไว้ด้วยเทคโนโลยีสูง (ราคาสูงตามไปด้วย) และเป็นความประทับใจโดยรวมของสินค้าและการบริการ แบรนด์เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้แต่อธิบายได้ ให้ความความรู้สึกและความหมายที่ดี ทำให้ผู้บริโภคยอมจ่ายแพง เพื่อให้ตัวเองได้แบรนด์ที่ตัวเองพึงใจ คำพูดของ Steve Job ,CEO APPLE ตอกย้ำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า “Brands are built around emotion .Product are built around function” แบรนด์ ถูกสร้างบนความรู้สึก สินค้าถูกสร้างบนเหตุผล ตัวอย่างเช่น ยาสีฟันคอลเกต คือสินค้าที่เป็นยาสีฟัน ป้องกันฟันผุ ราคาประหยัด หาซื้อได้ง่าย หากจะนึกถึงในแง่ของแบรนด์ ก็คือรู้สึกเกิดความคุ้นเคย มั่นใจในสุขภาพ ทำให้ฟันแข็งแรง
สำหรับผู้ที่ใช้อยู่แล้วก็อาจนึกถึงการพัฒนาไปข้างหน้าพร้อมๆ กับการปรับแก้ไขปัญหาของสินค้าอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอของแอปเปิล นึกถึงความเข้มงวด และข้อจำกัดที่แอปเปิลไม่ยอมให้ใช้งานในด้านที่สุ่มเสี่ยง และการยืนหยัดในด้านความปลอดภัยรวมถึงการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน นึกถึงร้านแอปเปิลสโตร์ กิจกรรมของร้าน และการให้บริการของพนักงานในร้าน
การสร้างแบรนด์ คืออะไร?
การสร้างแบรนด์ คือ การพัฒนาธุรกิจเพื่อสร้าง “ตัวตน” และ “บุคลิกภาพ” ที่โดดเด่นสอดคล้องไปกับองค์กร และเป้าหมายของธุรกิจ
ทำไมต้องสร้างแบรนด์ ข้อดีคืออะไร?
เพราะการสร้างแบรนด์ คือการสำรวจวิเคราะห์เพื่อกำหนด “ตัวตน” ของธุรกิจให้สอดคล้องไปกับสินค้าหรือบริการ และสอดคล้องกับความต้องการของผู้ซื้อหรือกลุ่มเป้าหมาย การสร้างแบรนด์ช่วยให้ผู้ซื้อเข้าถึงคุณค่าของแบรนด์ได้อย่างแม่นยำ ทำให้แบรนด์มีแผนและแนวทางที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนธุรกิจ ไม่สะเปะสะปะ หาจุดบกพร่องเพื่อปรับปรุงได้ง่าย ถูกต้องและเป็นระบบ ช่วยให้สามารถวิเคราะห์และพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างแบรนด์จึงเป็นความจำเป็นทั้งเพื่อการพัฒนาธุรกิจและสร้างโอกาสในการแข่งขันไปด้วยพร้อมๆ กัน
สร้างแบรนด์แล้วได้อะไร?
ผลที่จับต้องได้ของการสร้างแบรนด์
การสร้างแบรนด์คือการกำหนดอัตลักษณ์และภาพลักษณ์ของธุรกิจ ซึ่งสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์หรือบริการหลัก รวมถึงความต้องการของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ ซึ่งผลที่จับต้องได้ในอันดับแรก ก็คือ เครื่องหมายการค้า หรือที่เรียกว่า โลโก้ และข้อความหลัก อาจเรียกว่าสโลแกนหรือ Key Message รวมถึงภาพลักษณ์อื่นๆ ที่ใช้ในการสื่อสารสู่กลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับแนวทางของธุรกิจอย่างแม่นยำ
การสร้างแบรนด์เป็นมากกว่าการสร้างภาพลักษณ์
การกำหนดอัตลักษณ์ที่ถูกต้องจะต้องช่วยพัฒนาธุรกิจอย่างรอบด้าน พัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการธุรกิจ เข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ฯลฯ การสร้างแบรนด์จึงไปไกลกว่าแค่การสร้างภาพลักษณ์ที่ชัดเจน แต่เป็นการวิเคราะห์เพื่อกำหนดตัวตนของแบรนด์ในทุกๆ ด้าน เพื่อให้สัมพันธ์สอดคล้องและส่งเสริมกัน และนี่เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังที่จะช่วยขับเคลื่อนให้แบรนด์มีพื้นฐานที่มั่นคง สร้างโอกาสในการแข่งขัน และมีแนวทางในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องชัดเจน
สร้างแบรนด์ช่วยให้มีแผนและการประเมินผลที่ชัดเจน
การสร้างแบรนด์และตัวตนของธุรกิจ เป็นกระบวนการที่ต้องรวบรวมข้อมูลหลากหลายใช้ทั้งศาสตร์ และศิลป์วิเคราะห์และกำหนดเป็นแนวทางในการขับเคลื่อน “แผนการสร้างแบรนด์” ซึ่งต้องใช้เวลาในการพัฒนาแผน การพัฒนาแบรนด์จึงอาจเป็นหนึ่งเดียวกันกับแผนธุรกิจ การมีแผนในการขับเคลื่อนธุรกิจเป็นพื้นฐานที่แม่นยำในการวิเคราะห์ตรวจสอบประเมินผล เพื่อปรับแนวทางของธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ธุรกิจกำหนดไว้
ใครบ้างที่ต้องสร้างแบรนด์?
ธุรกิจแบบไหนที่จำเป็นต้องสร้างแบรนด์
ทุกธุรกิจจำเป็นต้องสร้างแบรนด์เพราะแบรนด์ก็เปรียบเสมือน “คน” ที่ผู้ซื้อต้องการรู้จักเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจซื้อ คุณคือใคร คุณทำอะไร คุณคิดอะไร คุณมีความแตกต่างอย่างไร ฯลฯ การกำหนดตัวตนของแบรนด์เพื่อให้สามารถตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ทั้งหมด ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณค่าของสินค้า หรือบริการรวมถึงสื่อสารบอกกล่าวตัวตนของธุรกิจให้กับผู้บริโภคได้รับรู้และเข้าใจถึงคุณค่าต่างๆ นี่คือการสร้างโอกาสในการแข่งขันและการเข้าถึงผู้ซื้อซึ่งก็คือหัวใจความสำเร็จของธุรกิจ
คู่แข่งเยอะหรือเพิ่งเริ่มต้น ยิ่งต้องเร่งสร้างและพัฒนาแบรนด์
ธุรกิจในกลุ่มที่มีผู้เล่นในตลาดเยอะมีคู่แข่งจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการใหม่ที่เข้าสู่การแข่งขันการสร้างแบรนด์ จึงยิ่งเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อสร้างความแตกต่างสร้างการรับรู้ถึงตัวตน และคุณค่าของสินค้าหรือบริการ ยกตัวอย่างเช่น สินค้าประเภทเครื่องดื่มชูกำลังที่ทั้งราคาและคุณภาพใกล้เคียงกันมาก ผู้ซื้อมีตัวเลือกอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 5 แบรนด์ คำถามก็คือ อะไรเป็นเงื่อนไขให้ผู้ซื้อเลือกแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง คำตอบก็คือตัวตนของแบรนด์ที่สามารถสื่อสารออกมาตรงกับบุคลิก หรือความชื่นชอบของผู้ซื้อ นี่คือความจำเป็นของการสร้างแบรนด์
10 คำถามการสร้างแบรนด์ที่ถามกันบ่อยๆ
- สร้างแบรนด์ ก็คือการออกแบบโลโก้กับงานดีไซน์ไม่ใช่เหรอ?
ไม่ใช่ การออกแบบโลโก้โทนสีตัวหนังสือรูปแบบการใช้งานต่างๆ เป็นผลลัพธ์ของการวิเคราะห์ตัวตนของธุรกิจ คุณค่าของสินค้าหรือบริการ วิเคราะห์ตลาดและคู่แข่ง ความเหมาะสมของเทรนด์ และความนิยมต่างๆ ความเหมาะสมกับตัวตนความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งหมดเป็นการรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์ในเชิงศาสตร์ แล้วแปลงเป็นภาพลักษณ์ในเชิงศิลป์ ที่เรียกว่า CI หรือ Corporate Identity
ดังนั้นโลโก้ และรูปแบบแนวทางของงานดีไซน์ต่างๆ จึงเป็นผลลัพธ์สุดท้ายทางด้านศิลป์ของการวิเคราะห์ข้อมูลในการพัฒนาแบรนด์ด้านศาสตร์ต่างๆ มาก่อนอย่างรอบด้าน การออกแบบที่ไม่ได้คำนึงถึงความเหมาะสมเหล่านี้ หรือการใช้รสนิยมความชอบของเจ้าของธุรกิจเพียงด้านเดียว โดยไม่คำนึงถึงตัวตนของลูกค้า และข้อมูลที่จำเป็นอื่นๆ ไม่เรียกว่าเป็นการออกแบบเพื่อการสร้างแบรนด์ บางท่านถามว่าต้องทำขนาดนี้เลยหรือ? ทำขนาดนี้ครับ
- เสียเวลาสร้างแบรนด์ทำไม ทำยอดขายเลยไม่ดีกว่าหรือ?
บางธุรกิจการสร้างแบรนด์สามารถทำควบคู่ไปกับการขายได้เลย เป็นการขายอย่างสร้างสรรค์สามารถสร้างทั้งแรงจูงใจ โฆษณาจุดเด่นของสินค้า อาจรวมถึงการลดแลกแจกแถม สุดท้ายทำให้ขายได้ มองดูผิวเผินอาจเข้าใจว่าเป็นการขายเพียงอย่างเดียว แต่ในกิจกรรมการขายได้มีการสะท้อน “ตัวตน” ของแบรนด์ออกมาด้วย นั่นก็คือการสร้างแบรนด์รูปแบบหนึ่ง “การขายได้” จึงยังคงต้องมีเงื่อนไขเหล่านี้อยู่เสมอ นั่นก็คือต้องมีแบรนด์ที่ดี คุณภาพสินค้าต้องดีและต้องมีการสื่อสารที่ดี
- มียอดอยู่บ้าง สร้างแบรนด์แล้วยอดขายเพิ่มขึ้นหรือไม่?
เพิ่มขึ้นในระยะยาว ไม่เพิ่มอย่างชัดเจนในระยะสั้น ถ้าต้องการเพิ่มรายได้ในระยะสั้นเป็นครั้งๆ ไป ต้องทำเรื่องการกระตุ้นยอดขาย เช่น โฆษณา การลดราคา การสร้างแรงจูงใจต่างๆ การสร้างแบรนด์เป็นการปรับพื้นฐานทุกๆ ด้านให้สอดคล้องเหมาะสมซึ่งใช้เวลา และเห็นผลในระยะกลางเป็นต้นไป
ประเด็นที่ควรให้ความสำคัญก็คือ การวิเคราะห์ธุรกิจเพื่อให้เกิดความเข้าใจบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง หลายธุรกิจมักเชื่อว่าแบรนด์ของตนเองดีอยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องพัฒนาอะไร สามารถเน้นการกระตุ้นยอดขายเพื่อสร้างรายได้ได้เลย ซึ่งถ้าทำได้ผลจริงก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ส่วนใหญ่มักขายได้ไม่มาก ต้องเพิ่มเงินโฆษณามากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อจะมียอดขายที่เพิ่มขึ้น สุดท้ายทำให้เสียเงินไปกับการกระตุ้นยอดขายโดยแทบไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน การกระตุ้นยอดขายจึงควรควบคู่หรือหลังจากที่ได้พัฒนาแบรนด์อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว
- การสร้างแบรนด์ ช่วยสร้างรายได้หรือไม่?
สร้างแบรนด์ช่วยสร้างรายได้ในระยะกลางและระยะยาว เมื่อได้พัฒนาและสื่อสารแบรนด์ไปสู่กลุ่มเป้าหมายอย่างเหมาะสมในระยะหนึ่งแล้ว ยอดขายจะเติบโตในอัตราที่อาจไม่สูงมาก แต่แน่นอนมั่นคงและโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งธุรกิจสามารถสร้างกิจกรรมการตลาดอื่นๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากแนวทางพื้นฐานของการพัฒนาและการสื่อสารแบรนด์ที่ดีอยู่แล้ว ส่งผลให้เกิดรายได้จากการกระตุ้นยอดขายที่ชัดเจน การสร้างและสื่อสารแบรนด์จึงเป็นพื้นฐานของการสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับธุรกิจ
- เมื่อก่อนก็ไม่เคยสร้างแบรนด์ ทำไมยังขายได้
เมื่อก่อนอาจมีคู่แข่งน้อย หรือพฤติกรรมของผู้ซื้อที่ต้องการทดลองผลิตภัณฑ์สินค้าใหม่ๆ เมื่อมีสินค้าเป็นทางเลือกให้กับผู้ซื้อมากขึ้น คุณภาพก็ใกล้เคียงกัน หรือคู่แข่งอาจดีกว่า รวมถึงคู่แข่งอาจพัฒนาแบรนด์ให้ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อได้แม่นยำกว่า โอกาสในการแข่งขันจึงลดลงส่งผลให้ยอดขายลดลงตามกันไปด้วย เมื่อตอนที่เริ่มขายสินค้าใหม่ๆ แม้ไม่ได้สร้างแบรนด์ก็อาจขายได้ เพราะคู่แข่งอาจมีไม่มากและพฤติกรรมของผู้ซื้อที่ชอบทดลองสินค้าใหม่ (สินค้าที่ราคาไม่สูง) แต่เมื่อตลาดเริ่มมีผู้เล่นมากขึ้น คุณภาพของสินค้า, การสร้างและสื่อสารแบรนด์คือปัจจัยพื้นฐานของการขาย
- ขายของเล็กๆ น้อยๆ ธรรมดา ต้องสร้างแบรนด์ด้วยหรือ?
ต้องสร้าง เพราะแบรนด์ก็คือ “ตัวตน” แม้แต่ร้านค้าใน Online Market Place ต่างๆ ก็ยังมีสถานะให้ผู้ซื้อรีวิว เช่น คะแนนการตอบกลับ ยอดการขาย ความรับผิดชอบในด้านคุณภาพ สินค้าเดียวกันแม้ราคาจะถูกกว่าแต่ถ้าการรีวิวไม่ดี ผู้ซื้อก็อาจยอมซื้อสินค้าในราคาที่สูงกว่าจากร้านที่รีวิวดีกว่าก็ได้ ฯลฯ นี่คือส่วนหนึ่งของการสร้างแบรนด์ เมื่อไหร่ที่ผู้ขายไม่ได้มีคนเดียว และผู้ซื้อมีทางเลือก แบรนด์จะเป็นเครื่องมือให้ผู้ซื้อตัดสินใจเลือกคุณไม่ใช่คนอื่น การสร้างแบรนด์จึงมีความสำคัญเสมอ
- มีแบรนด์อยู่แล้ว ต้องสร้างแบรนด์ด้วยหรือ? รี–แบรนด์คืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยนโลโก้
ถ้าแบรนด์ที่มีอยู่หมายถึงแค่โลโก้สินค้า ควรสร้างแบรนด์ตามที่อธิบายเพื่อให้สามารถพัฒนาธุรกิจและสร้างโอกาสในการแข่งขัน แต่ถ้ามีการสร้างแบรนด์อยู่บ้างแล้วและพิจารณาแล้วเห็นว่ายังไม่ถูกต้องเหมาะสมในบางด้าน ก็ควรพัฒนาเพิ่มเติม
ลักษณะนี้ก็คือการ “รี-แบรนด์” (Re-Brand) ซึ่งหลังจากปรับเปลี่ยนกระบวนการต่างๆ แล้ว จึงควรพิจารณาว่าเป็นการปรับเปลี่ยนมากหรือน้อย กระทบหรือจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์เพื่อให้เหมาะสมกับการปรับปรุงต่างๆ หรือไม่ ส่วนใหญ่การปรับแก้ หรือเปลี่ยนโลโก้ก็เพื่อปรับให้เข้ากับแนวทางที่ได้ปรับปรุงใหม่ ให้เข้ากับตัวตนใหม่ เข้ากับกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดใหม่ โดยทางอ้อมก็เพื่อเป็นการแสดงออกต่อสังคมและผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายว่าแบรนด์ได้ปรับเปลี่ยนไปสู่แนวทางใหม่แล้ว
- การสร้างแบรนด์ ทำเองได้หรือไม่ ขั้นตอนเป็นอย่างไร?
ทำเองได้ บนพื้นฐานของความพร้อมและความเข้าใจ ขั้นตอนก็คือทำความเข้าใจการเชื่อมโยง 3 ด้าน ด้านโครงสร้างของธุรกิจ ด้านสินค้าและบริการหลักและด้านการตลาด และกลุ่มเป้าหมาย โดยวิเคราะห์รายละเอียดทั้งสามด้านเพื่อหาข้อสรุป และกำหนดเป็นเป้าหมายในการขับเคลื่อนธุรกิจ ที่สามารถพัฒนาทั้งสามด้านอย่างสอดคล้องส่งเสริมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ซึ่งจะทำให้ได้ “แผนพัฒนาธุรกิจและโครงสร้างองค์กร” ที่มีทิศทางสอดรับกัน เชื่อมโยงกับการ “กำหนดและสร้างอัตลักษณ์” ที่สอดคล้องไปกับทั้งธุรกิจ สินค้า หรือบริการ รวมถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจะนำไปสู่การ “กำหนดแนวทางในการสื่อสาร” ที่แม่นยำ เพื่อสื่อสารคุณค่าและตัวตนของธุรกิจไปสู่กลุ่มเป้าหมาย ทั้งหมดนี้ควรรวบรวมเป็นแผนงานหลัก เพื่อกำหนดให้การพัฒนาเป็นไปอย่างสอดคล้องและมีทิศทาง กำหนดการวิเคราะห์ตรวจสอบแผนงานเป็นช่วงเวลาที่แน่นอน เพื่อประเมินผลและปรับปรุงแผนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
- สร้างแบรนด์แล้วทำไมยังขายไม่ได้?
การสร้างแบรนด์คือการพิจารณาทุกองค์ประกอบของธุรกิจ รวมถึงด้านการสร้างและสื่อสารอัตลักษณ์หรือตัวตนของธุรกิจ สื่อสารคุณค่าสินค้าไปสู่กลุ่มเป้าหมาย โดยกำหนดเป็นแผนเพื่อการพัฒนาทุกด้านไปพร้อมๆ กัน นั่นหมายถึงจุดแข็งของสินค้าหรือบริการจะต้องได้รับตรวจสอบและพัฒนาอยู่เสมอ เพื่อรักษาและเพิ่มคุณภาพให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
โครงสร้างและการบริหารธุรกิจจะต้องเป็นไปได้เพื่อส่งเสริมการสร้างคุณค่าของสินค้าหรือบริการ การสร้างและสื่อสารตัวตนจะต้องสอดคล้องและส่งเสริมทั้งสินค้า บริการ รวมถึงภาพลักษณ์ของธุรกิจอย่างสอดคล้องกัน ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยในการตัดสินใจของลูกค้าที่จะสนับสนุนสินค้าและบริการ ถ้าในปลายทางผลที่เกิดขึ้นยังคง “ขายไม่ได้” ต้องทบทวนองค์ประกอบต่างๆ ว่าได้ทำครบถ้วนเหมาะสมแล้วหรือไม่
- การสร้างแบรนด์ เป็นทางออกของการทำธุรกิจจริงหรือ?
การสร้างแบรนด์มีบทบาทสำคัญและจะยิ่งทวีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากกระบวนการขับเคลื่อนของสังคมที่การพัฒนาเทคโนโลยีกระจายไปสู่วงกว้าง ความง่ายและความฉลาดทำให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ธุรกิจเฉพาะทาง ธุรกิจท้องถิ่น เกิดและเพิ่มปริมาณมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ส่งผลให้เกิดการแข่งขันเพื่อเข้าถึงผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะที่ผู้ซื้อก็มีทางเลือกเกิดขึ้นมากมายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทั้งยังสามารถเปรียบเทียบข้อมูลของสินค้า และบริการต่างๆ เพื่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ตรงกับความต้องการของตนเองได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอะไรที่ต้องการส่วนแบ่งการตลาดจากคู่แข่ง ต้องการการขายที่ต่อเนื่อง การสร้างแบรนด์เป็นทางออกของธุรกิจเหล่านั้นเสมอ
ทำไมการมีแบรนด์นั้นถึงสำคัญต่อธุรกิจ
การทำธุรกิจในยุคนี้ที่การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทอย่างมากมาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน
แถมเศรษฐกิจโลกที่มีการชะลอตัวและการค้าที่มีสินค้าจากเพื่อนบ้านหรือระแวกใกล้เคียงเข้ามา
ทำให้การทำการตลาดโดยเฉพาะผู้ค้ารายย่อย ๆ นั้นเต็มไปด้วยอุปสรรคต่าง ๆ
มากมายที่จะสามารถทำให้ธุรกิจตัวเองนั้นอยู่รอดและสร้างผลกำไรขึ้นมาได้
ดังนั้นการสร้างความแตกต่างหรือกลยุทธ์ทางการค้าที่จะทำให้ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายนั้นสนใจและเลือกสินค้าซื้อสินค้าจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก
โดยในปัจจุบันสินค้าและบริการนั้นไม่ได้มีความแตกต่างกัน
ทำให้การเลือกซื้อสินค้าหรือบริการสักอย่างของผู้บริโภคนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยเพียงไม่กี่ปัจจัยขึ้นมา
ซึ่งหนึ่งในปัจจัยนั้นคือเรื่องการรู้จัก และการรู้จักนี้เองก็เป็นผลมาจากการมี Branding
ทำให้การสร้างแบรนด์หรือมีตัวตนของแบรนด์ที่แน่ชัดสำหรับ
นักการตลาดนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างมาก
ไม่ว่าธุรกิจนักการตลาดนั้นจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ การมีแบรนด์นั้นสำคัญมากกว่าที่นักการตลาดหรือเจ้าของธุรกิจคิดอย่างมาก
แบรนด์ช่วยในการเพิ่มความจดจำ
การจดจำนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับการทำการตลาดในปัจจุบัน
เพราะด้วยการจดจำนี้จะช่วยทำให้ผู้บริโภคนั้นสามารถตัดสินใจเลือกสินค้าและบริการได้ว่าจะเลือกของเจ้าไหนที่อยู่ในตลาด
เพราะถ้าสินค้าและบริการคุณไม่มีแบรนด์ แปลว่าสินค้าและบริการคุณนั้นไม่มีตัวตนหรือไม่ได้รู้จักในมุมมองของผู้บริโภคเลย ถ้าคุณไม่ทำแบรนด์ไว้
คุณอาจจะได้แต่ไม่สามารถสร้างการซื้อซ้ำได้เลย เพราะคนจดจำคุณไม่ได้แล้ว
ดังนั้นการสร้างแบรนด์ขึ้นจึงมีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะหากคุณเป็นแบรนด์เล็ก ๆ
ที่ต้องแย่งชิงความสนใจจากธุรกิจใหญ่ ๆ การมีแบรนด์จะสร้างความสัมพันธ์ของคุณกับกลุ่มเป้าหมายขึ้นมาได้ทันที
ทั้งนี้การทำแบรนด์จงมั่นใจว่าการสื่อสารของคุณนั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกันในทุก ๆ
ช่องทางและมีการแสดงออกตามพฤติกรรมของแบรนด์คุณที่ควรจะเป็น
แบรนด์ช่วยในเรื่องดีไซน์
การทำแบรนด์นั้นเหมือนกับการสร้างอัตลักษณ์และนิสัยของแบรนด์ขึ้นมา
และเมื่อคุณต้องทำโฆษณาในการโปรโมทแบรนด์คุณ ไม่ว่าจะทำเว็บไซต์
หรือทำนามบัตรแนะนำธุรกิจของคุณ
การมีแบรนด์นั้นจะช่วยสร้างอัตลักษณ์ของตัวตนบริษัทคุณไปในทันที
ซึ่งช่วยทำให้คนที่ออกแบบวัตถุดิบต่าง ๆ นั้นสามารถทำงานได้ง่ายอย่างมากเพราะสามารถออกแบบสิ่งต่าง
ๆ ให้ไปในทิศทางและมุมมองเดียวกันได้อย่างอย่างง่ายดาย อย่างเช่น
การออกแบบบรรจุภัณฑ์
แถมยังทำให้คนที่มาทำงานในอนาคตสามารถเข้าใจในตัวตนบริษัทแบะออกแบบตามแบรนด์ที่มีต่อมาได้ไม่ยาก
สิ่งสำคัญสุดคือประหยัดเวลาในการดีไซน์และช่วยประหยัดงบประมาณในการทำงานดีไซน์ไปเยอะอย่างมากอีกด้วย
แบรนด์ช่วยสร้างมูลค่าบริษัท
มูลค่าของบริษัทนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับทรัพย์สินหรือรายได้ของบริษัทที่มีเท่านั้น
แต่ชื่อของบริษัทนั้นก็สามารถนำมาสร้างมูลค่าต่าง ๆ ได้เช่นกัน
ยิ่งแบรนด์คุณนั้นมีชื่อเสียงดังมากแค่ไหน หรือมีความต้องการสูงมากแค่ไหน
ก็ยิ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มเติมได้อย่างมากมาย
ตัวอย่างเช่น Coca
Cola มีมูลค่าแบรนด์อยู่ที่ 73.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือแบรนด์อื่น เช่นพวกแบรนด์เนม
ที่มีมูลค่าชื่อเสียงแบรนด์ที่สูง
แค่เอาโลโก้หรือชื่อแบรนด์ไปแปะกับอะไรก็สามารถขายได้อย่างทันที เช่น Supreme
บนหนังสือพิมพ์
ด้วยการสร้างแบรนด์เช่นนี้ การที่คุณมีแบรนด์อยู่ การค่อย ๆ
สะสมมูลค่าของแบรนด์คุณขึ้นไปย่อมมีความสำคัญอย่างมาก
โดยเฉพาะถ้าคุณสามารถสร้างกลุ่มผู้ใช้สินค้าและบริการของคุณที่แน่นแฟ้นขึ้นมาได้
ย่อมทำให้แบรนด์คุณมีคุณค่าเพิ่มมากขึ้นไปอีก
ทำให้การตลาดง่ายขึ้น
แน่นการมีแบรนด์นั้นช่วยทำให้การทำการตลาดนั้นง่ายขึ้นอย่างมาก
เพราะแทนที่จะต้องมานั่งสร้างการอธิบายตัวตนของสินค้าและบริการต่าง ๆ
ขึ้นมาว่าต่างจากคู่แข่งอย่างไร
หรือทำไมกลุ่มเป้าหมายต้องหันมาใช้สินค้าและบริการของคุณ ทำให้คุณสามารถประหยัดเวลาในส่วนนี้มาสร้างการขายหรือสร้างมูลค่าที่โดนใจของผู้บริโภคได้เลย
โดยไม่จำเป็นต้องอธิบายมาก ปล่อยให้พลังของแบรนด์นั้นทำงานในการขายตัวเองไป
ทำให้การตลาดนั้นสามารถโฟกัสได้ทันทีว่าต้องทำงานอะไรและอย่างไรเพื่อที่จะเพิ่มศักยภาพทางการตลาดขึ้นมาได้เพิ่มมากขึ้นไปอีก
ทำให้คนทำงานในทิศทางเดียวกัน
แน่นอนการมีแบรนด์นั้นจะทำให้ทุกคนในองค์กรมีความเข้าใจอันหนึ่งอันเดียวกันว่า
องค์กรนั้นมีตัวตนและพฤติกรรมอย่างไร
ทำให้เวลาทำงานหรือเวลาที่ต้องสื่อสารออกไปยังโลกภายนอกขององค์กรจะททำให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
มีความสอดคล้องกัน จนทำให้สื่อสารมีพลังออกไปได้
ซึ่งถ้าคุณไม่มีแบรนด์มาครอบในการทำงานของคนในองค์กรแล้ว
ทุกคนจะต่างคนต่างเข้าใจในตัวตนของบริษัทและทำให้เกิดการทำงานที่ไม่มีทิศทางหรือไม่มีหลักการให้ยึดว่าจะทำงานอย่างไรออกไป
สรุป
การมีแบรนด์นั้นมีส่วนสำคัญอย่างมากสำหรับสินค้า
โดยเฉพาะสินค้าอย่างอาหารเสริม เครื่องสำอางหรือยาสมุนไพรร
เพราะการมรแบรนด์นั้นจะทำให้ตัวสินค้ามีความน่าสนใจและดูน่าซื้อกว่าสิน้คาที่ไม่มีแบรนด์
และถ้าหากเป็นสินค้าที่มาจากแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในตลาด
จะยิ่งทำให้สินค้าเป็นที่สนใจมากขึ้น
ทำไมต้องมีกลยุทธ์
การสร้างแบรนด์
เมื่อเราคิดถึงแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จสูงอย่าง อูเบอร์ ซัมซุง ดิสนีย์ และแบรนด์อื่นๆ อีกมากมาย ก็จะตระหนักว่า แบรนด์ดังกล่าวมาได้ไกลมากเพราะแบรนด์เหล่านี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตลูกค้าของพวกเขานั่นเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นหากพวกเขาไม่มีกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ที่แยบยลจนประสบความสำเร็จ
ดังนั้น
หากคุณต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของเรื่องนี้มากขึ้น
คุณต้องมุ่งไปที่หลักสำคัญ
ซึ่งการมีกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยคุณดังนี้
·
มีวัตถุประสงค์ของบริษัทที่ชัดเจน
คุณไม่สามารถเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จได้หากคุณไม่มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และไม่รู้ว่า
บริษัทของคุณจะมุ่งไปทิศทางไหน ปีที่แล้วบริษัทของคุณอยู่ ณ จุดใด
ปัจจุบันอยู่ตรงไหน และในปีหน้าหรืออีก 2 ปีจะอยู่ที่ใด
นอกจากนี้
พนักงานของคุณจะสามารถสนับสนุนบริษัทของคุณให้เติบโตไปในทิศทางที่ถูกต้องได้
โดยการทำหน้าที่สนับสนุนกลยุทธ์ของคุณได้อย่างเต็มที่หากมีการวางวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน นอกจากนี้
ยังช่วยในการรักษาลูกค้าที่จงรักภักดีต่อแบรนด์
ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มองเห็นประโยชน์ของการก้าวไปพร้อมๆ กับบริษัทของคุณและจะใช้สินค้าหรือบริการของคุณต่อไป
·
มีความโดดเด่นเหนือคู่แข่ง
ในขณะที่คุณกำลังพัฒนากลยุทธ์ของคุณอยู่นั้น
คุณต้องให้ความสนใจความเคลื่อนไหวของคู่แข่งคุณ และกิจกรรมของพวกเขาอย่างจริงจัง
คุณต้องหมั่นสังเกตการณ์และทำการวิเคราะห์ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่อาจจะมีหลายสิ่งหลายอย่างเหมือนคุณ
และก็จะมีอีกหลายอย่างที่คุณทำด้วยวิธีการที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ของคุณจะทำให้คุณมีโอกาสโดดเด่นเหนือคู่แข่งของคุณ
โดยการบอกว่าคุณเป็นใคร อะไรทำให้บริษัทของคุณมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
และมีความสอดคล้องในทุกช่องทางที่แตกต่างจากคู่แข่งขันในตลาด
·
ทำให้กลยุทธ์การตลาดของคุณมีความเหมาะสมกลมกลืนกัน
เมื่อคุณพัฒนาอัตลักษณ์และคุณค่าแบรนด์ของคุณ
คุณต้องหาวิธีการในการเผยแพร่เนื้อหาเกี่ยวกับอัตลักษณ์และคุณค่านั้นและแชร์สู่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของคุณให้ได้
ด้วยแคมเปญการตลาดที่มีเป้าหมาย
คุณจะสามารถดึงดูดความสนใจของผู้มุ่งหวังที่มีคุณภาพและศักยภาพสูงและเปลี่ยนพวกเขาให้กลายเป็นลูกค้าได้
และถ้าระดับความเชื่อมั่นและความสุขของพวกเขาไม่เพียงแค่อยู่ในระดับเดียวกับลูกค้าแต่อยู่ในระดับที่มากกว่า
พวกเขาก็อาจจะกลายเป็นลูกค้าที่จงรักภักดีต่อแบรนด์ของคุณในที่สุด
· สามารถสื่อสารกับลูกค้าของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นการมีกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ยังไม่เพียงพอสำหรับความสำเร็จ กิจกรรมของคุณต้องมีความสอดคล้องกันด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับการสื่อสารกับลูกค้าของคุณ และพนักงานของคุณก็จะต้องทำตามกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ในขณะที่ทำการสื่อสารกับลูกค้าด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะในฐานะผู้เชี่ยวชาญในการให้ความช่วยเหลือลูกค้าหรือนักการตลาดโซเชียลมีเดีย พวกเขาต้องดูแลลูกค้าทุกคนตามทิศทางที่เขียนไว้ในกลยุทธ์และใช้ลีลา สไตล์ และโทนเสียงเดียวกัน เช่น ถ้าคุณมีทีมช่วยเหลือลูกค้าที่ยอดเยี่ยม สามารถตอบกลับความต้องการของลูกค้าได้ทันเวลาและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างเต็มที่ คุณต้องดำเนินการในรูปแบบเช่นเดียวกันนี้ในทุกช่องทางโซเชียลด้วย มิฉะนั้นกลุ่มเป้าหมายของคุณจะมีทัศนคติที่ขัดแย้งและสับสนในแบรนด์ของคุณ
·
ช่วยดึงคนเก่งๆ
มาทำงานและดึงลูกค้าใหม่ๆ ให้หันมาสนใจสินค้าหรือบริการ
ประโยชน์ของการมีกลยุทธ์การสร้างแบรนด์อีกอย่างก็คือ
การดึงคนเก่งๆ มาทำงานและดึงลูกค้าใหม่ๆ ให้มาสนใจซื้อและใช้สินค้าหรือบริการ
ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่แชร์คุณค่าที่เหมือนกันกับแบรนด์ของคุณ
เมื่อคุณพัฒนาแบรนด์ของคุณในทิศทางที่แน่นอน
ผู้คนก็จะสนใจในวิธีการและสิ่งที่คุณทำ ดังนั้น
พวกเขาจะต้องการเข้าร่วมกิจกรรมกับคุณและกลายเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์คุณด้วย เช่น
แบรนด์แอปเปิล ผู้คนจำนวนมากใฝ่ฝันอยากจะเป็นพนักงาน เพื่อที่จะเข้าไปทำงานและมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่แบรนด์แอปเปิลจัดขึ้น
สิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์หลักๆ
ของการพัฒนากลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ซึ่งคุณจะเห็นได้ว่า ผลดีของการสร้างแบรนด์ก็คือ
การใช้พลังงานและทรัพยากรของคุณอย่างมีคุณค่าในการพัฒนากลยุทธ์ให้เกิดความชัดเจนนั่นเอง
2. ขั้นตอนแปดขั้นตอนในการสร้างสรรค์กลยุทธ์การสร้างแบรนด์
เมื่อคุณเข้าใจแล้วว่า ทำไมถึงจำเป็นต้องสร้างแบรนด์ ก็ถึงเวลาต้องเริ่มสร้างสรรค์กลยุทธ์กันแล้วต่อไปนี้คือขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการสร้างกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ แต่คุณต้องระมัดระวังไว้ด้วยว่า หากคุณล้มเหลวในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งก็สามารถจะส่งผลให้เกิดวิกฤตกับคุณและแบรนด์ของคุณได้
ขั้นตอนแรก
ระบุกลุ่มเป้าหมายและลักษณะลูกค้าในอุดมคติของคุณ
หากคุณยังใหม่ในธุรกิจ
คุณต้องถามตัวเองก่อนว่า ลูกค้าในอุดมคติของคุณคือใคร
และพวกเขาจะไว้วางใจในสินค้าและบริการของคุณได้อย่างไร
หมั่นค้นหาและวิเคราะห์คู่แข่งโดยตรงของคุณ วิเคราะห์สินค้าและบริการ
ลูกค้าหรือผู้ใช้ของคู่แข่ง
และวิธีการที่ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ของพวกเขาทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ในขณะที่คุณกำลังทำการวิเคราะห์ลูกค้าปัจจุบันของคุณ
คุณต้องแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มๆ ตามรูปแบบทั่วไปและแรงจูงใจของพวกเขา
ซึ่งจะช่วยให้คุณเข้าใจว่า กลุ่มไหนมีประโยชน์ต่อธุรกิจของคุณมากกว่ากัน
และพยายามดึงดูดความสนใจของลูกค้าในกลุ่มที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันให้มีมากขึ้นด้วยวิธีการและแรงจูงใจที่เหมือนๆ
กัน
ลูกค้าในอุดมคติมีลักษณะอย่างไร
หากบริษัทของคุณขายเครื่องแต่งกายสำหรับผู้ชาย
หนึ่งในกลุ่มลูกค้าในอุดมคติของคุณจะเป็นผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 20 ถึง 45 ปี
ที่เคยซื้อสินค้าที่คล้ายคลึงกันสำหรับลูกชาย สามี และเพื่อนชายของพวกเขา
ตัวอย่างนี้เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างของผลการวิจัยที่ดี คุณสามารถทำเช่นเดียวกันนี้กับสินค้าและบริการของคุณ
ยิ่งการวิจัยของคุณละเอียดมากเท่าไรก็ยิ่งดีมากขึ้นเท่านั้น
พวกเขาเหล่านั้นคือผู้ที่อาจจะกลายมาเป็นลูกค้าของแบรนด์คุณก็ได้
ขั้นตอนที่ 2 เขียนคำจำกัดความจุดยืนของแบรนด์
คำจำกัดความจุดยืนของแบรนด์ คือ
ประโยคที่สะท้อนถึงสิ่งที่แบรนด์ของคุณนำเสนอต่อลูกค้า
กลุ่มเป้าหมายและประโยชน์ของแบรนด์คุณ ซึ่งเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่สำหรับหลายๆ
แบรนด์
แต่ถ้าคุณเข้าใจแบรนด์ของคุณอย่างแท้จริงและรู้ว่าคุณต้องการให้แบรนด์ของคุณเป็นที่ยอมรับในสายตาและความคิดของคนอื่นๆ
แบบไหน คุณก็สามารถเขียนขึ้นมาได้อย่างง่าย
โดยอาศัยวิธีการสอบถามและระดมความคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลที่มีลักษณะและคุณสมบัติสอดคล้องกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
คำจำกัดความจุดยืนของแบรนด์สามารถแบ่งออกเป็น
3 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก กลุ่มเป้าหมายของคุณ โดยการตั้งคำถามเหล่านี้ คือ
กลุ่มเป้าหมายของคุณคือใคร มีลักษณะอย่างไร มีความสนใจในสิ่งใด
พวกเขาทำการตัดสินใจอย่างไร ใครคือผู้อิทธิพลทางความคิดของพวกเขา ส่วนที่สอง คุณค่าที่แบรนด์ของคุณมีให้แก่ลูกค้า คุณค่าหรือคุณประโยชน์อะไรที่แบรนด์ของคุณมอบให้แก่ลูกค้าซึ่งเป็นคุณค่าที่แบรนด์อื่นๆ
ไม่สามารถให้ได้ และส่วนที่สาม เหตุผลสนับสนุน โดยการระบุถึงเหตุผลต่างๆ ที่เป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นว่า
คำจำกัดความจุดยืนของแบรนด์คุณนี้เป็นความจริง
เมื่อคุณระบุจุดยืนของแบรนด์
คุณต้องมั่นใจว่า มีความเหมาะสมกับแบรนด์ของคุณและคิดว่า
จะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในขณะที่บริษัทของคุณกำลังเติบโต
คุณสามารถย้อนกลับมาที่จุดยืนของแบรนด์ได้เสมอและปรับให้ถูกต้องสอดคล้องกับแบรนด์ของคุณในช่วงเวลานั้นๆ
ขั้นตอนที่ 3 พัฒนาอัตลักษณ์ของแบรนด์
หากคนส่วนใหญ่จำแบรนด์ได้จากโลโก้หรือสีและข้อความของแบรนด์
ก็หมายความว่า แบรนด์เหล่านี้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาอัตลักษณ์ของแบรนด์นั่นเอง
อันดับแรกคุณต้องจัดการตรวจสอบแบรนด์เพื่อทำความเข้าใจว่า
แบรนด์ของคุณยืนอยู่ที่จุดไหนในตลาดหากเปรียบเทียบกับคู่แข่งของคุณ
ซึ่งจะทำให้คุณมองทะลุว่า จะดำเนินการอย่างไร
จากนั้นคุณต้องพัฒนาองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ของแบรนด์คุณ ซึ่งก็คือ
คู่มือรูปแบบแบรนด์ของคุณนั่นเอง
เมื่อคุณเพิ่มการรับรู้ของแบรนด์และผู้คนเรียนรู้เกี่ยวกับการมีอยู่ของแบรนด์คุณ
อัตลักษณ์ของแบรนด์คุณจะทำหน้าที่ในส่วนที่สำคัญนี้
ถ้าคุณจับกลุ่มเป้าหมายถูกกลุ่มและทำให้พวกเขาพึงพอใจ
แบรนด์ของคุณก็จะได้รับการจดจำ คุณสามารถเพิ่มการรับรู้แบรนด์ทั้งจากออนไลน์และออฟไลน์โดยการใช้ช่องทางต่างๆ
หลากหลายช่องทาง
อัตลักษณ์ของแบรนด์ คือ
ลักษณะที่ผู้คนจดจำแบรนด์ของคุณ ซึ่งเป็นเหตุผลว่า
ทำไมการสร้างสรรค์อัตลักษณ์ที่แท้จริงที่สะท้อนถึงคุณค่าแบรนด์ของคุณจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
ขั้นตอนที่ 4 แบรนด์ คือความเชื่อมโยง
แบรนด์ทุกแบรนด์เชื่อมโยงกับอารมณ์และความหมาย
ในขณะที่คุณกำลังพัฒนาอัตลักษณ์ของแบรนด์
คุณต้องคิดเกี่ยวกับความหมายและคำที่คุณต้องการเชื่อมโยงกับแบรนด์ของคุณ
จากนั้นทำการวิจัยและพัฒนากลยุทธ์ที่คุณต้องการใช้ในการสร้างความเชื่อมโยงดังกล่าวกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของคุณ
กลยุทธ์เหล่านั้นรวมถึงข้อความและเนื้อหา
วิธีการที่คุณสื่อสารกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
และอารมณ์ของพวกเขาหลังจากการมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ของคุณในแต่ละครั้ง
ถ้าคุณกำลังพยายามแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของคุณ
คุณต้องศึกษาพวกเขาและให้ความช่วยเหลือที่จำเป็น
แบรนด์ของคุณก็จะมีความเป็นมืออาชีพและได้รับความไว้วางใจจากพวกเขา
ขั้นตอนที่ 5 รักษาความสม่ำเสมอ (Consistency) และความเสมอต้นเสมอปลายของแบรนด์
ความสม่ำเสมอและความเสมอต้นเสมอปลายนั้นสร้างความไว้วางใจ
คุณลองจินตนาการถึงคนที่เปลี่ยนทัศนคติและลักษณะของเขาตลอดเวลา วันหนึ่งเขาดูเป็นนักธุรกิจมาก
อีกวันหนึ่งเขาดูลำลองและเป็นมิตรมาก
จากนั้นเขาก็หายไปและปรากฏตัวให้เห็นอีกครั้งหลังจากหายไปหนึ่งสัปดาห์
ในบุคลิกที่ดูเป็นคนขี้โมโห หงุดหงิดง่าย คุณสามารถที่จะเชื่อถือคนคนนี้และทำธุรกิจร่วมกับเขาได้อีกหรือ เช่นเดียวกันกับธุรกิจของคุณ
หากคุณเปลี่ยนไปมาอยู่ตลอดเวลาจนลูกค้ากลุ่มเป้าหมายไม่สามารถคาดเดาได้
เขาเหล่านั้นก็จะไม่เชื่อถือในตัวคุณและบริษัทของคุณ ดังนั้น
ความสม่ำเสมอและความเสมอต้นเสมอปลายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
การรักษาความสม่ำเสมอและความเสมอต้นเสมอปลายของแบรนด์ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการทำงานเป็นทีมโดยตรง
ไม่ว่าจะมีทีมงานเข้าร่วมทำกิจกรรมจำนวนเท่าไรก็ตาม
แต่ละคนจะต้องรู้คุณค่าของแบรนด์และวิธีการที่จะสื่อสารคุณค่าเหล่านั้นในทุกช่องทางถึงแม้จะมีหลากหลายช่องทางก็ตาม ดังนั้น สมาชิกในทีมทุกคนต้องเข้าถึงคู่มือรูปแบบแบรนด์ของคุณ
และเรียนรู้วิธีการใช้เครื่องมือสร้างแบรนด์ในขณะที่กำลังสร้างสรรค์เนื้อหาและสื่อสารคุณค่าผ่านสื่อประเภทต่างๆ
ด้วย
ขั้นตอนที่ 6 รักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าของคุณ
ความจริงที่ทราบกันดีอยู่แล้วก็คือ
การรักษาลูกค้าปัจจุบันเอาไว้สามารถทำได้ง่ายกว่าการหาลูกค้าใหม่
จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าของคุณให้นานที่สุด ทีมงานที่รับหน้าลูกค้าต้องมีทักษะการสื่อสารที่ดีเยี่ยม
เพราะทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับวิธีการและรายละเอียดที่พวกเขาส่งข้อความ
ตลอดจนท่าทางการแสดงออกและกิริยามารยาทที่มีต่อลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
วิธีการที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งก็คือ
การทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจมากกว่าที่พวกเขาคาดหวังเอาไว้
เมื่อคุณรู้จักลูกค้าของคุณและปัญหาของพวกเขาแล้ว คุณไม่สามารถทำเพียงแค่การแก้ปัญหาเหล่านั้น
แต่ต้องทำให้พวกเขารู้สึกดีและรู้สึกว่า
พวกเขาได้รับการปฏิบัติและดูแลเยี่ยงบุคคลพิเศษด้วย
ขั้นตอนที่ 7 ทำให้พนักงานในองค์กรเป็นตัวแทนของแบรนด์คุณ
พนักงานที่มีความสุขและความพึงพอใจนั้นมีค่าต่อบริษัทเช่นเดียวกับลูกค้า
บริษัทส่วนใหญ่ใช้เวลาและทรัพยากรไปกับลูกค้าของพวกเขา แต่มักลืมไปว่า พนักงานของพวกเขานั้นมีความสำคัญมากแค่ไหน
คุณต้องศึกษาเกี่ยวกับพนักงานและกิจกรรมของพวกเขาว่า
อะไรคือสิ่งที่ทำให้พนักงานของคุณมีความสุข
จัดกิจกรรมการสร้างทีมที่จะช่วยทำให้วัฒนธรรมองค์กรของคุณเป็นรูปเป็นร่างขึ้น
จากการศึกษาพบว่า พนักงานที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ
ของที่ทำงานอย่างกระตือรือร้นมักจะไม่ลาออกจากบริษัท
พนักงานของคุณสามารถกลายเป็นตัวแทนของแบรนด์และช่วยเพิ่มการรับรู้แบรนด์ของคุณ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการใช้โซเชียลมีเดีย เมื่อพนักงานของคุณแชร์รูปและวิดีโอต่างๆ
ที่พูดถึงบริษัทของคุณบนโซเชียลแพลตฟอร์ม
ลูกค้าของคุณก็สามารถรู้ได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น
และรับรู้ได้ว่าการมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมหรือการเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทคุณนั้นสนุกสนานแค่ไหน
เช่นเดียวกันพนักงานที่ไม่มีความความสุขและความพึงพอใจต่อบริษัทของคุณก็สามารถทำให้เกิดผลสะท้อนกลับด้านลบและส่งผลกระทบต่อแบรนด์ของคุณ
ดังนั้น
หากคุณไม่มีวัฒนธรรมองค์กรและโปรแกรมการมีส่วนร่วมของพนักงานก็ถึงเวลาที่จะต้องริเริ่มจัดทำขึ้นมาแล้ว
ขั้นตอนที่ 8 ใช้วิธีการสร้างแบรนด์ร่วมกับบริษัทอื่น
การสร้างแบรนด์ร่วมกัน (Co-branding)
คือ ความร่วมมือระหว่าง 2 แบรนด์ ซึ่งเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงตลาดใหม่ๆ
และเพิ่มการรับรู้ในแบรนด์ คุณต้องคิดว่า
บริษัทไหนที่คุณสามารถร่วมมือกันในการสร้างสรรค์สินค้าที่มีความพิเศษหรือมีรูปแบบที่เป็นประโยชน์สำหรับลูกค้า
และได้รับผลประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย ขั้นตอนนี้ไม่ใช่ขั้นตอนที่จำเป็นต้องทำ
แต่เป็นสิ่งที่สามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ของคุณได้ โดยบริษัทที่คุณจะทำการสร้างแบรนด์ร่วมกันนั้นควรมีคุณค่าและภาพลักษณ์ของแบรนด์อยู่ในระดับที่ดีพอๆ
กันหรือมากกว่า
การมีกลยุทธ์การสร้างแบรนด์เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกบริษัท
คุณควรทำตามขั้นตอนเหล่านี้เพื่อสร้างสรรค์และปรับปรุงกลยุทธ์ของคุณ
การเข้าใจเป้าหมาย
กลยุทธ์และกระบวนการสร้างแบรนด์ย่อมส่งผลให้ธุรกิจได้รับผลตอบแทนจากการสร้างแบรนด์เพิ่มมากขึ้น
สำหรับรายละเอียดการสร้างแบรนด์ที่ผู้เขียนจะกล่าวถึงในลำดับถัดไปอีกสองข้อก็คือ
3. ช่องทางที่ใช้สำหรับการสร้างแบรนด์
คุณไม่สามารถสร้างแบรนด์โดยการใช้ช่องทางการสื่อสารเพียงแค่ออนไลน์หรือออฟไลน์เท่านั้น
คุณต้องรวมทุกสิ่งทุกอย่างเข้าด้วยกัน กลุ่มเป้าหมายจะต้องมองเห็นแบรนด์ของคุณได้ทุกๆ
ที่ ทุกๆ เวลา ที่เขาเหล่านั้นเปิดรับสื่อในทุกช่องทาง
เมื่อคิดถึงแบรนด์ของคุณ อันดับแรกสุดคุณต้องบอกให้ได้ว่า
คุณสามารถพบเจอกลุ่มเป้าหมายของคุณได้ที่ไหน
และคุณจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของพวกเขาได้อย่างไร ซึ่งมีสองวิธีในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
คือ ออนไลน์และออฟไลน์ เมื่อคุณรวมกลยุทธ์ทั้งสองเข้าด้วยกัน
คุณจะทราบถึงความต้องการ ทัศนคติ พฤติกรรมและประสบการณ์ของลูกค้า
ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินการเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจต่อไป
วิธีการที่คุณจะเข้าถึงและได้ประโยชน์จากกลยุทธ์ออฟไลน์
เช่น
·
การออกแบบสร้างสรรค์นามบัตร
และสิ่งพิมพ์ต่างๆ
·
การเข้าร่วมกิจกรรมพิเศษ
งานสัมมนา รูปแบบการจัดงานแสดงสินค้า
·
การเป็นสปอนเซอร์กิจกรรมต่างๆ
ที่ลูกค้าสนใจ
·
การใช้กลยุทธ์ปากต่อปาก
สำหรับการสร้างแบรนด์ออนไลน์นั้นมีเครื่องมือและโอกาสต่างๆ
มากมายเมื่อเทียบกับออฟไลน์
นอกจากนี้
ยังง่ายต่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของคุณโดยอาศัยการใช้กลยุทธ์ที่เฉียบคม
ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้ไม่ได้จำกัดเพียงแค่เว็บไซต์และหน้าเฟสบุ๊กอย่างที่บริษัทส่วนใหญ่เข้าใจเท่านั้น
คุณจำเป็นต้องมีเว็บไซต์ที่มีศักยภาพในการสร้างความคุ้นเคยกับสินค้าหรือบริการของคุณ
คุณสามารถออกแบบและจัดทำร้านค้าออนไลน์เพื่อความสะดวกของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
สำหรับการใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียคุณต้องมั่นใจว่าข้อความของคุณนั้นเข้าถึงพวกเขา
แทนที่คุณจะสร้างเว็บไซต์แล้วรอคอยลูกค้าผ่านเข้ามาหรือโพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่างไร้จุดหมายโดยไม่มีผลด้านบวกใดๆ
คุณควรหยุดคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ของคุณก่อน
วิธีการที่มีประสิทธิภาพในการโปรโมตแบรนด์ของคุณผ่านทางออนไลน์ ได้แก่
·
ให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายของคุณ
เช่น การสร้างบล็อกเพื่อแชร์เนื้อหาที่มีสารประโยชน์ ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นว่า
บริษัทของคุณเป็นแบรนด์ที่มีความสามารถและมีความเชี่ยวชาญ
เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
·
สร้างชุมชนออนไลน์ที่จะทำให้ได้ลูกค้ามีความจงรักภักดี
ซึ่งคุณสามารถใช้โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มได้
คุณต้องใช้ทุกโอกาสในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายของคุณและสร้างความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นกับพวกเขาเหล่านั้น
·
สร้างความไว้วางใจกับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์
ลูกค้าที่มีความสุขและความพึงพอใจเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จของคุณ
คุณต้องถามลูกค้าของคุณเพื่อให้พวกเขาวิจารณ์บริษัทของคุณ
และใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการสร้างความไว้วางใจในหมู่มวลลูกค้าที่มีศักยภาพของคุณ
คนมักจะไว้วางใจกันและกันมากกว่าไว้วางใจแบรนด์
ดังนั้น อีกหนึ่งวิธีในการสร้างแบรนด์ก็คือ
การทำการตลาดผ่านผู้มีอิทธิพลทางสังคมออนไลน์ ซึ่งคุณต้องทำงานร่วมกันกับบุคคลที่มีผู้ไว้ใจพวกเขาและติดตามเขาเหล่านั้นบนแพลตฟอร์มต่างๆ
ดังนั้น
ทุกครั้งที่ผู้มีอิทธิพลโพสต์บางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับแบรนด์ของคุณ
สารของคุณก็จะแพร่กระจายไปยังผู้ที่ติดตามพวกเขา
ซึ่งจะเพิ่มการรับรู้แบรนด์ของคุณและเพิ่มจำนวนลูกค้าใหม่ให้คุณมากขึ้นอีกด้วย
คุณต้องใช้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์เสมอ
ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ร่วมกันเพื่อทำให้แบรนด์ของคุณมีความสอดคล้องกันในทุกๆ
ช่องทาง คุณต้องทดสอบกลยุทธ์ของคุณและทำการปรับปรุง
รวมทั้งต้องระลึกถึงความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของคุณไว้เสมอ
ทำไมบริษัทต่างๆ
ถึงล้มเหลวใน การสร้างแบรนด์
บริษัทส่วนใหญ่มักจะคิดว่า
ทำอย่างไรไม่ให้เกิดความล้มเหลว คุณต้องยอมรับว่า
คุณจะไม่สามารถประสบความสำเร็จหากปราศจากความพยายาม
และถ้าคุณมีความพยายามคุณก็สามารถหลีกเลี่ยงความล้มเหลวได้
เหตุผลที่บริษัทส่วนใหญ่ประสบกับความล้มเหลว
มีดังนี้
·
พวกเขาไม่ได้กำหนดหรือไม่มีวิสัยทัศน์ระยะยาว
ซึ่งเป็นความผิดพลาดอันใหญ่หลวง
·
อัตลักษณ์และสารที่เกี่ยวกับแบรนด์ของพวกเขาไม่สอดคล้องกัน
สร้างความสับสนให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
·
กำหนดกลุ่มเป้าหมายผิดกลุ่ม
ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ใช้สินค้าหรือบริการของพวกเขา
·
ไม่ได้กำหนดจุดยืนในตลาดให้กับตราสินค้า
·
ไม่สนใจความต้องการของลูกค้าของพวกเขา
·
ล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาที่ไม่คาดคิดซึ่งพวกเขาไม่สามารถควบคุมได้
เหตุผลเหล่านี้จะทำให้คุณคิดทบทวนซ้ำในขณะที่กำลังดำเนินการตามกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ของคุณ
นอกจากนี้ถ้ากลยุทธ์ของคุณล้มเหลวคุณก็จะมีโอกาสในการวิเคราะห์หาสิ่งที่ผิดพลาด
ปรับปรุงและรีบดำเนินการให้เหมาะสมและถูกต้องต่อไป
การสร้างแบรนด์เป็นเรื่องยาก
ในขณะที่การทำลายแบรนด์นั้นเป็นเรื่องง่ายมาก
การสร้างแบรนด์ที่แข็งแรงต้องอาศัยกลยุทธ์ที่ดีจึงจะนำคุณไปสู่ความสำเร็จ
คุณควรใช้ขั้นตอนข้างต้นในการสร้างสรรค์กลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ
ตลอดจนทำให้กลยุทธ์การตลาดออนไลน์และออฟไลน์เชื่อมโยงกันเพื่อความสอดคล้อง
รวมทั้งสร้างความมั่นใจและความไว้วางใจแก่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของคุณ
อัปเดต 3 เทรนด์ดิจิทัล
ที่มีผลต่อแบรนด์
โลกดิจิทัลเปลี่ยนไปทุกวัน
พฤติกรรมผู้บริโภคก็เช่นกัน
เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปพร้อมกับโลกดิจิทัล
แบรนด์จะปรับอย่างไร
Code & Craft ในเครือ แรบบิท ดิจิทัล กรุ๊ป
สรุป 3 เทรนด์ดิจิทัลที่มีผลต่อแบรนด์
พร้อมแนวทางปรับกลยุทธ์แบรนด์เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ดังนี้
1. ท้าทายของแบรนด์ไม่ใช่ “แบรนด์คู่แข่ง” อีกต่อไป
จะเห็นได้ว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค กลายเป็นความท้าทายใหม่ของแบรนด์ ในอดีตแบรนด์อาจจะมองสถานการณ์ของตลาดและการเดินเกมของคู่แข่ง เป็นความท้าทายอันดับต้นๆ ที่ให้ความสำคัญ แต่การแข่งขันในปัจจุบันแบรนด์ต้องหันมาใส่ใจกับไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมของผู้บริโภคมากขึ้น
โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่โควิด-19 ได้เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคไปจากเดิม
Code & Craft อ้างอิงจากผลสำรวจของ PricewaterhouseCoopers
(PwC) ถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคหลังจากเกิดการระบาดของโควิด-19 ว่า
-ผู้บริโภคระวังการใช้เงินมากขึ้น
เพราะยังไม่วางใจว่าสถานการณ์การระบาดจะยืดเยื้อไปถึงเมื่อไร
-ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้สอดคล้องกับสภาพคล่องทางการเงินและสุขภาพ
นอกจากนี้ผลสำรวจยังพบกว่าผู้บริโภคไทยกว่า 57% ยังมีแนวโน้มรับประทานอาหารที่ร้านน้อยลง
และซื้อกลับบ้านมากขึ้น และ 44% ลดการใช้เงินไปกับกิจกรรมศิลปะ วัฒนธรรมและกีฬา
เทรนด์นี้แบรนด์ปรับอย่างไร
แบรนด์ต้องเริ่มปรับกลยุทธ์การเข้าหาลูกค้า
หยิบใช้นวัตกรรมใหม่ๆ สร้าง Customer Journey ที่มีประสิทธิภาพ
ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในทุกมิติ ตั้งแต่ผู้บริโภคเริ่มสนใจแบรนด์
กลายเป็นลูกค้า รวมทั้งการบริการหลังการขายและรักษาลูกค้าในระยะยาว
เพราะผู้บริโภคคาดหวัง Customer Experience ที่ดีที่สุดจากการเป็นลูกค้าของแบรนด์
2. Way O2O เส้นทางที่เป็นทั้ง Offline to Online และ Online to Offline
แม้ผู้บริโภคจะเปลี่ยนพฤติกรรมมาซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์หรือ
E-Commerce
กันมากขึ้น
แต่ผู้บริโภคก็ยังให้ความสนใจใจการซื้อสินค้าจากโลก Offline เช่นกัน
Code & Craft อ้างอิงสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคของ
PwC
ว่า
38% ของผู้บริโภคชาวไทยยังเลือกจับจ่ายสินค้าหน้าร้าน (Physical Store) เป็นช่องทางหลักแบรนด์จึงต้องให้ความสำคัญตลาดทั้ง Offline และ Online ควบคู่กันไป
เทรนด์นี้แบรนด์ปรับอย่างไร
กลยุทธ์ O2O แบบเก่าอย่าง Online-to-Offline หรือ Offline-to-Online ทางเดียวนั้น อาจจะไม่เพียงพออีกต่อไป แบรนด์ต้องเริ่มประยุกต์ใช้ 2-Way O2O หรือการเดิน 2 ฝั่งไปพร้อมๆ กัน เพื่อสร้าง Digital Ecosystem พัฒนากลยุทธ์และเครื่องมือทางการตลาดแนวทางและช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการในการเข้าถึงผู้บริโภคผ่าน Online และ Offline เพื่อให้แบรนด์ไม่ใช่แค่วิ่งตาม แต่เป็นการวิ่งไปพร้อมกับเทรนด์ของตลาดและผู้บริโภค
การมี Digital Ecosystem ของแบรนด์ที่สมบูรณ์จะช่วยดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้เข้าหาแบรนด์
สร้าง Brand Loyalty เพิ่มขึ้น
และเกิดเป็นออนไลน์คอมมูนิตี้ของลูกค้าที่ช่วยเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้เป็น Top of
Mind
3. Content ไม่ได้หยุดอยู่แค่การให้ข้อมูลทางเดียว
Content Strategy หรือกลยุทธ์ในการทำคอนเทนต์ คือเครื่องมือที่แบรนด์ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในยุคนี้ แต่การทำคอนเทนต์ในยุค 2021 ไม่ได้หยุดที่การให้ข้อมูลทางเดียวที่มีเพียงเนื้อหา ภาษาและโทนการเล่าเรื่อง เท่านั้น แต่คอนเทนต์จะต้องมีพลังความสามารถ เล่าเรื่องและสื่อไปถึงผู้รับสารกลุ่มเป้าหมาย เพื่อปรับมุมของของผู้รับสารต่อแบรนด์ ซึ่งจะส่งผลสะท้อนกลับเข้ามาหาแบรนด์อีกต่อหนึ่งด้วย
เทรนด์นี้แบรนด์ปรับอย่างไร
การสร้าง Content Strategy มีหลากหลายรูปแบบและทิศทาง
ขึ้นอยู่กับเป้าหมายและสิ่งที่แบรนด์อยากจะให้เกิดขึ้น
และที่สำคัญคือต้องสะท้อนตัวตนของแบรนด์ (Brand Identity) อย่างชัดเจน
ปัจจุบันมีเครื่องมือและแพลตฟอร์มดิจิทัลมากมายที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับ
Content
Strategy และนักสร้างสรรคอนเทนต์
ในการเนรมิตงานให้ตรงกับกลยุทธ์ที่วางไว้
การมีกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพและเครื่องมือที่พร้อม นอกจากจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้แม่นยำมากขึ้นแล้ว
ยังจะสร้างสร้าง conversion ที่ทรานส์ฟอร์มจากคนเสพย์เนื้อหา
ให้กลายเป็นลูกค้าของแบรนด์ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น