หน่วยที่ 3 การสร้างคุณค่าและภาพลักษณ์ให้กับธุรกิจ

 

ชื่อเสียงของแบรนด์ (Brand Reputation) เป็นสิ่งสำคัญมากต่อการทำธุรกิจ ที่เกิดจากมุมมองของลูกค้าเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับแบรนด์ต่างๆในตลาด โดยเป็นผลมาจากการเห็นกิจกรรมต่างๆที่แบรนด์จัดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าหรือบริการ การโฆษณา หรือการจัดอีเว้นท์ต่างๆ นับว่ามันสร้างให้เกิดประโยชน์ต่อแบรนด์ได้มากมายเลยทีเดียว เช่น การสร้างให้เกิดข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) การสร้างการรับรู้ในตัวแบรนด์ (Brand Awareness) สร้างให้เกิดความภักดีในตัวแบรนด์ (Brand Loyalty) โอกาสเพิ่มยอดขายให้ธุรกิจ สร้างกำไรที่มากขึ้น สร้างความน่าเชื่อถือในตลาด สร้างความน่าเชื่อถือให้ลูกค้า สร้างคุณค่าให้กับแบรนด์ เป็นต้น

Grey Arrow

แสดงความเป็นผู้นำทางความคิด

ไม่ใช่แค่การขายของเพียงอย่างเดียวที่แบรนด์ควรให้ความสำคัญ แต่ต้องสร้างความเชื่อมโยงและการรับรู้ให้ได้ว่าแบรนด์ของคุณนั้นได้กลายเป็นผู้นำทางความคิดในมุมใดมุมหนึ่ง และแสดงจุดเด่นให้เห็นได้ว่าแบรนด์คุณไม่ใช่แค่แบรนด์รองเท้า แบรนด์คอมพิวเตอร์ หรือแบรนด์ขายสินค้าแบบธรรมดาทั่วไป ซึ่งการเป็นผู้นำทางความคิดนั้นก็สื่อสารผ่านการทำคอนเทนต์ในรูปแบบต่างๆ ที่ทำให้รู้ว่าแบรนด์ของคุณเป็นแบรนด์อะไรต้องการนำเสนออะไรอยากให้ลูกค้าได้อะไร เช่น Nike ไม่ใช่แค่แบรนด์รองเท้าหรืออุปกรณ์กีฬาแต่คือผู้นำด้านการกระตุ้นให้ทุกๆคนออกกำลังกายและสามารถเป็นนักกีฬาได้ Microsoft ไม่ใช่แค่โปรแกรมธรรมดาแต่เป็นแบรนด์ที่สร้างให้ทุกคนเห็นถึงศักยภาพในตัวเอง

สร้าง Customer Experience ให้ได้

ประสบการณ์ลูกค้าในทุกๆจุดสัมผัส (Touchpoint) ไม่ว่าจะเป็นโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ อีเมล์ สื่ออื่นๆ จะช่วยให้ลูกค้าได้รับความรู้สึกที่ประทับใจและมันส่งผลต่อรายได้ของแบรนด์รวมถึงความภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) ได้ในอนาคต ดังนั้นแบรนด์จำเป็นต้องสร้างประสบการณ์ดีๆให้เกิดขึ้นให้ได้ ต้องมีความรวดเร็ว สร้างความเป็นมิตร สร้างการจดจำ ไม่ทำให้สับสน

ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา

คำว่าตื่นตัวในที่นี้หมายถึงการที่แบรนด์ของคุณ นอกจากความจำเป็นในการสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ตามเทรนด์ใหม่ๆให้ทันเพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมทางการตลาด ยังต้องคิดวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีความเหมาะสม เพราะคุณกำลังอยู่ในยุคออนไลน์และโซเชียล มีเดีย ที่ทุกอย่างนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วแบบนาทีต่อนาทีเลยทีเดียวครับ

มีความชัดเจน

แบรนด์ควรมีความชัดเจนและยึดมั่นในคำสัญญาที่ให้ไว้กับลูกค้า เพราะมันจะเป็นเครื่องการันตีชื่อเสียงและความเชื่อใจจากลูกค้า ยิ่งในปัจจุบันที่มีหลากหลายแบรนด์ให้เลือกในตลาดทำให้ลูกค้านั้นมีตัวเลือกในการเลือกแบรนด์มากยิ่งขึ้น เช่น ความตรงต่อเวลาในการส่งมอบสินค้า การรับประกันสินค้า คุณภาพของสินค้า โดยหากคุณไม่มีความชัดเจนในเรื่องต่างๆ ก็จะสร้างให้เกิดความผิดหวังในใจของลูกค้าจนถึงขั้นเสียงชื่อเสียงได้เลยครับ

คงเส้นคงวา

การสร้างชื่อเสียงก็ต้องสร้างอย่างคงเส้นคงวา มีความต่อเนื่อง แม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรก็ตามที่ทำให้เกิดผลกระทบกับแบรนด์ แต่อย่าหยุดการผลิตสินค้า อย่าหยุดพัฒนาสินค้า อย่าหยุดพัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้า อย่าหยุดสร้างประสบการณ์ดีๆกับลูกค้า เพราะมันคือหนึ่งในตัวชี้วัดความสำเร็จและชื่อเสียงของแบรนด์ด้วยเช่นกัน

ทำตามสัญญา

ส่งมอบในสิ่งที่แบรนด์ให้ไว้กับลูกค้าให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นมิติด้านคุณภาพ การบริการ ราคา ความพึงพอใจ บริการหลังการขาย หรือแม้แต่การช่วยเหลือสังคม คำมั่นสัญญาที่ถูกเติมเต็มจะกลายเป็นกระบอกเสียงสำคัญ ที่ลูกค้าจะช่วยบอกต่อแบรนด์ของคุณ หรือแม้แต่ช่วยปกป้องแบรนด์ของคุณในอนาคต

ใส่ใจ Feedback ลูกค้า

Feedback หรือเสียงสะท้อนจากลูกค้า ถือเป็นสิ่งสำคัญในการบริหารความสัมพันธ์และการทำธุรกิจในยุคสมัยนี้ครับ มันแสดงออกถึงความใส่ใจของแบรนด์ต่อลูกค้าของคุณ โดย Feedback นั้นก็ควรจำรับฟังทั้งข้อดีและข้อเสีย รวมไปถึงคำแนะนำต่างๆไม่ว่าจะเป็นคำติหรือคำชม เพื่อหาโอกาสในการปรับปรุงแก้ไขในจุดที่บกพร่อง และพัฒนาจุดที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งๆขึ้นไป นอกจากนั้นคุณยังสามารถนำ Feedback มาทำการตลาดแบบ Personalized Marketing ให้มัดใจลูกค้าได้อีกครับ

ให้ความสำคัญกับกิจกรรม CSR

การทำธุรกิจที่มุ่งเน้นผลกำไรอย่างเดียว คงไม่สามารถชนะใจลูกค้าได้อีกต่อไปในยุคนี้ เพราะลูกค้านั้นเริ่มมองและให้ความสำคัญกับแบรนด์ที่ให้ความใส่ใจกับการที่แบรนด์แสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคม หรือการที่แบรนด์มีการปรับปรุงและพัฒนาสินค้าที่ใช้ทรัพยากรที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมมาใช้ในกระบวนการผลิต และอย่าลืมสื่อสารกิจกรรมเหล่านี้ผ่านการทำ PR ไม่ว่าจะเป็นการเชิญสื่อมวลชนมาทำข่าว การส่งข่าวประชาสัมพันธ์ โพสต์ลงเว็บไซต์หรือโซเชียล มีเดีย เพื่อให้ลูกค้าและผู้ที่สนใจได้รับรู้

พยายามถ่ายทอดวัฒนธรรมองค์กรสู่ลูกค้า

ความสุขของพนักงานที่ถูกถ่ายทอดออกมายังลูกค้าในการให้บริการต่างๆ ก็เป็นหนึ่งในการสร้างชื่อเสียงให้กับแบรนด์แบบได้ผลดีทีเดียวครับ เพราะมันสะท้อนถึงวัฒนธรรมอันดีขององค์กร (Corporate Culture) ที่ปลูกฝังให้พนักงานทำงานด้วยความสุขมีใจรักในงานที่ทำและการบริหารความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า ดังนั้นการสื่อสารหรือถ่ายทอดวัฒนธรรมองค์กรให้คนภายนอกได้รับรู้ก็ย่อมเป็นผลดีต่อชื่อเสียงของแบรนด์อย่างไม่ต้องสงสัย


การทำธุรกิจให้เติบโตและสามารถเข้าไปอยู่ในใจของลูกค้าได้ ธุรกิจนั้นจะต้องมีความโดดเด่น มีความแตกต่าง หรือคุณค่าบางอย่างที่สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน หรือที่เราเรียกว่า Competitive Advantage นั่นเองครับ โดย Competitive Advantage นั้นยังช่วยให้บริษัทสามารถผลิตสินค้าหรือบริการให้มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการลดต้นทุนในด้านต่างๆส่งผลไปถึงการสร้างกำไร ในมิติต่างๆ เช่น โครงสร้างต้นทุน การสร้างแบรนด์ คุณภาพของสินค้าและบริการ ช่องทางหรือเครือข่ายในการจำหน่ายสินค้า สิทธิบัตรต่างๆ หรือบริการหลังการขาย เรามาดูตัวอย่างของ Competitive Advantage 

ตัวอย่าง Competitive Advantage

  • ความหลากหลายของสินค้าและบริการ
  • มี Know-how เป็นของตัวเอง
  • กระบวนการผลิตที่รวดเร็วและราคาถูก (ต้นทุนการผลิตต่ำ)
  • วัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าพนักงาน การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้
  • มีทุนและสภาพคล่องทางการเงินในการทำธุรกิจ
  • มีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี
  • คุณภาพของสินค้าและบริการในสายตาของผู้บริโภค
  • มีชื่อเสียงที่ดีในสายตาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย
  • ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการขับเคลื่อน
  • ความสามารถในการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า
  • สิทธิบัตร หรือลิขสิทธิ์ต่างๆที่คู่แข่งไม่มี
  • การมีเครือข่ายทางธุรกิจที่ให้ประโยชน์กับธุรกิจ
  • สถานที่ตั้งของร้านค้า เมื่ออยู่ในจุดที่ดีและเหมาะสม
  • การสร้างประสบการณ์ให้กับผู้บริโภค ที่ไม่สามารถหาได้จากคู่แข่ง
  • ธรรมาภิบาลและจริยธรรมในการทำธุรกิจ
  • คุณค่าภายในองค์กร
  • การเป็นที่จดจำในจิตใจของลูกค้า
  • การมีอัตลักษณ์ของแบรนด์ที่โดดเด่น
  • ลูกค้าที่จงรักภักดี
  • อำนาจในการต่อรองต่างๆ
  • การมีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำ
  • ความยั่งยืนในการทำธุรกิจ

Google เป็น Search Engine อันดับหนึ่งของโลกที่จัดอยู่ในธุรกิจประเภทเทคโนโลยี นับเป็นแบรนด์ที่มีมูลค่าสูงสุดในโลกเป็นอันดับที่ 2 จากการจัดอันดับโดย Forbes ในปี 2019 ซึ่งมีมูลค่ากว่า 207.5 พันล้านเหรียญ โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีสาขามากกว่า 70 สาขา ใน 40 ประเทศทั่วโลก ซึ่งถือเป็นแบรนด์ที่ปฏิวัติความเป็นยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง

Google Logo

Source: technext.ng

STP Strategy ของ Google

การแบ่งส่วนการตลาดของ Google นั้นใช้การแบ่งส่วนที่ครอบคลุมทั้งด้านประชากร ภูมิศาสตร์ และด้านจิตวิทยา เพื่อตอบสนองความต้องการด้านตลาดเทคโนโลยีที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น เรียกได้ว่าเป็นกลุ่มคนที่สนใจและชอบใช้อินเทอร์เน็ตทั่วทั้งโลก และ Google เองก็เข้ามาสร้างให้เกิดคุณค่าในการดำเนินชีวิตและการทำธุรกิจของคุณให้ง่ายยิ่งขึ้น

BCG Matrix ของ Google

Google เองก็มีหลากหลายผลิตภัณฑ์ที่สร้างมาเพื่อให้ผู้คนบนโลกสื่อสารกันได้อย่างทั่วถึง ทั้งผ่านเว็บไซต์ มือถือ ธุรกิจ รวมถึงสำหรับบ้านและที่ทำงาน โดย Google AdWords ระบบการค้นหาเว็บไซต์ และการทำ SEO ก็นับเป็น STARS ใน BCG Matrix

ส่วนด้านของโซเชียล มีเดีย และโซเชียล เน็ตเวิร์ค ยังคงเป็น QUESTION MARKS เพราะเนื่องจากยังไม่สามารถแข่งกับแพลตฟอร์มเจ้าตลาดอื่นๆ

ข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน Competitive Advantage

วัฒนธรรมในการทำงานของ Google ค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งสร้างให้เกิดภาพลักษณ์ของแบรนด์ในอุตสาหกรรมไอทีและเทคโนโลยี ทำให้ Google นั้นมีคนเก่งระดับหัวกระทิอยู่มากมายทั่วทุกมุมโลก และเป็นแบรนด์ที่ครองเจ้าตลาดบริการด้านเว็บไซต์โซลูชัน ด้วยการนำนวัตกรรมใหม่ๆมาใช้จนสามารถตอบโจทย์องค์กรได้ทุกระดับ

คุณค่าของแบรนด์ Google

แบรนด์ Google ได้เปลี่ยนการเชื่อมโยงการสื่อสารบนโลกอินเทอร์เน็ตไปอย่างสิ้นเชิง และเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคไปสู่ความเป็นดิจิทัล ผ่านการใช้งานจากทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์และมือถือในทุกระบบ ซึ่งช่วยให้ทั้งผู้ใช้งานและธุรกิจสามารถเข้าถึงข้อมูลและสร้างธุรกิจในโลกออนไลน์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ รวมถึงสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เน้นสร้างให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่สร้างให้เกิดคุณค่ากับแบรนด์ของ Google ทั้งนั้น

Google Assistant Cover

Source: kalingatv.com

วิเคราะห์ศักยภาพในการแข่งขันของ Google

ด้วยความที่ Google เป็นยักษ์ใหญ่ด้านธุรกิจเทคโนโลยีที่เข้าถึงคนได้ทั่วโลก และถือว่าเป็นผู้นำเหนือกว่าคู่แข่งรายอื่นๆในตลาด เนื่องจาก Google ได้มีการพัฒนาให้ระบบ Search Engine สามารถรองรับเทคโนโลยีได้หลายรูปแบบรวมถึงการสนับสนุนการทำงานกับมือถือทั้งระบบ iOS และ Android และ Browser ต่างๆ ตอบโจทย์และยกระดับการใช้ชีวิตของกลุ่มผู้ใช้ได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งคาดว่า Google ยังมีขีดความสามารถในการเติบโตได้อีกในระยะยาว และหากมองถึงคู่แข่งนั้น ก็ได้แก่

  • Microsoft (Bing, OS)
  • Apple (IOS in mobiles)
  • Facebook.com
  • Yahoo.com
  • Ask.com

วิเคราะห์กลุ่มลูกค้าของ Google

กลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการของ Google มีทุกระดับตั้งแต่บุคคลทั่วไปจนถึงธุรกิจต่างๆ ที่ให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์ชีวิตทั้งส่วนตัวและการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Google - Gmail

Source: time.com/5613419/gmail-tips-tricks-email/

วิเคราะห์ 4P ของ Google

Product

Google นับว่าเป็นช่องทางในการเข้าถึงความสะดวกสบายในด้านต่างๆ ที่ช่วยให้ชีวิตประจำวัน ชีวิตการทำงาน รวมไปถึงการขับเคลื่อนธุรกิจนั้นให้มีความคล่องตัวและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ที่แยกออกมาเป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ สำหรับทุกคน สำหรับธุรกิจ และสำหรับนักพัฒนา โดยผลิตภัณฑ์ของ Google นั้นมีอยู่หลากหลายประเภท เช่น

  • ระบบ Search Engine ในการค้นหาข้อมูลต่างๆบนอินเทอร์เน็ต
  • ระบบแผนที่ Google Map
  • ระบบอีเมล์ Gmail
  • แพลตฟอร์มวีดิโอ YouTube
  • Google Play, Google Street View, Calendar
  • เอกสารต่างๆ เช่น Google Sheet, Google Docs, Google Slide
  • การสนับสนุนธุรกิจ เช่น Google Domain, G-Suite, My Business, Google AdWords, GDN, Adsense, Google Cloud
Example of Google Products

สามารถดูผลิตภัณฑ์อื่นๆของ Google ได้ที่ https://about.google/products/

Price

ราคาของผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ Google มีต้นทุนต่ำและพยายามให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด โดยนโยบายของ Google นั้นการกำหนดราคาขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินค้า ซึ่งรายได้หลักมาจากการขายโฆษณาผ่าน AdWords ที่ราคาขึ้นอยู่กับคีย์เวิร์ดซึ่งหากเป็นคีย์เวิร์ดที่มีการค้นหามาก ราคาก็จะสูงตามซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่าย ให้เข้ากับวัตถุประสงค์ในการทำธุรกิจอย่างลงตัว

Place

ทุกกิจกรรมทางการตลาดของ Google นั้นสื่อสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และมีผู้คนค้นหาข้อมูลผ่าน Google กว่า 200 ล้านครั้งต่อวัน มีการแปลเป็นภาษาต่างๆเพื่อสนับสนุนลูกค้าในแต่ละประเทศ กว่า 100 ภาษา และมีพนักงานที่เตรียมพร้อมนำเสนอและแก้ไขปัญหาต่างๆแบบเร่งด่วนให้ลูกค้ากว่า 52,000 คน ทั่วโลก

Promotion

Google มีการทำโฆษณาและสื่อสารแบรนด์ผ่าน Search Engine เว็บไซต์เป็นหลัก และเมื่อลูกค้าเกิดความพึงพอใจก็จะกลายเป็นการโฆษณาในรูปแบบปากต่อปาก (Word-of-Mouth) นอกจากนั้น Google ยังมีการเสนอให้ทดลองซื้อโฆษณาแบบฟรีๆได้อีกด้วย ก็นับเป็นการกระตุ้นและสร้างแบรนด์ให้ลูกค้าหันมาทดลองใช้ได้อย่างต่อเนื่อง และสำหรับบางประเทศก็มีการโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ และบิลบอร์ด เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ